การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) ส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มเป้าหมาย โดยเลือกแบบเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน จำนวน 6 แผน 12 ชั่วโมง 2) แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ มี 4 ด้าน คือ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน โดยการฟัง เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 5 ข้อ การอ่านเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 5 ข้อ การพูด เป็นการสอบปฏิบัติพูดอธิบายหน้าชั้นเรียน และการเขียนเป็นแบบอัตนัยโดยเขียนในรูปแบบแผนผังความคิด จำนวน 1 ข้อ และ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยาก อยู่ในช่วง 0.26-0.77 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ในช่วง 0.25-0.70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่องการดำรงชีวิตของพืช ใช้กิจกรรมการฝึกฝนความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ ทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่บ้าน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียน 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ แบบห้องเรียนกลับด้าน มีความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนนักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ มีผลการประเมินด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน อยู่ในระดับพอใช้ทั้ง 4 ด้าน และ หลังเรียนนักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี มีผลการประเมินด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนอยู่ในระดับดีเยี่ยม ดี ดี และดีเยี่ยม ตามลำดับ และ 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Baram-Tsabari, A. & Osborne, J. (2015). Bridging science education and science communication research. Journal of Research in Science Teaching, 52(2), 135-144.
Bergman, J., and Sams, A. (2011). How the flipped classroom was born. The Daily Riff. Retrieved from.http://www.thedailyriff.com/articles/how-the-flipped-classroom-is-radically-transforming-33learning-536.php
Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Educational Objectives, Handbook: The Cognitive Domain. David McKay: New York.
Hsu, W. C., and Lin, H. C. K. (2016). Impact of applying WebGL technology to develop a web digital game-based learning system for computer programming course in flipped classroom. International Conference on Educational Innovation through Technology (EITT), IEEE, 64-69.
Malmfors B., & Garnsworthy P, Grossman M. (2000). Writing and presenting scientific papers. Annals of Botany, 87(4), 548-554.
Odewumi, M. O., and Yusuf, M. O. (2018). Flipped Classroom in The Context of Junior Secondary School Creative Tie and Dye in Abeokuta Metropolis. Nigeria Bulgarian Journal of Science and Education Policy, 12(1).
Papalexiou et al. (2017). Implementing a Flipped Classroom: a Case Study of Biology Teaching in a Greek High School. Turkish Online Journal of Distance Education, 18(1), 1302-6488.
Reid, S. A. (2016). A flipped classroom redesign in general chemistry. Chemistry Education Research and Practice, 17(4), 914-922.
Sing, (2007). การสื่อสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศสืบค้นจาก http://www.jobpub.com/articles/ showarticle.asp?id=1437, December 12, 2010.
Wright, L. N. (2015). The impact of the flipped classroom on learning and problem solving of ninth grade biology students. website:https://www. semanticscholar.org/paper/The-impact-of-the-flipped-classroom-on-learning-and-Wright.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน. (2560). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้านเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับนักศึกษาครู. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 1-12.
ชนัตว์ ชามทอง. (2550). การจัดกิจกรรมสร้างเสริมความสามารถด้านการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิชาภา บุรีกาญจน์ และเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดแบบห้องเรียนกลับด้านที่มีผลต่อความรับผิดชอบและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แผน ปัญญา. (2564). ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านแกหัวแฮดส้มโฮงวิทยา. (26 พฤษภาคม 2564). สัมภาษณ์.
พะยอม โพนไสว. (2564). ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านแกหัวแฮดส้มโฮงวิทยา. (27 พฤษภาคม). สัมภาษณ์.
พิชิตชัย ดอนสินบูรณ์. (2564). ครูผู้ช่วย โรงเรียนบ้านแกหัสแฮดส้มโฮงวิทยา. (27 พฤษภาคม 2564). สัมภาษณ์.
ไพวรรณ มณีศรี. (2564). ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านแกหัสแฮดส้มโฮงวิทยา. (27 พฤษภาคม 2564). สัมภาษณ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลักสูตรขั้นพื้นฐาน.สืบค้นจาก https://www.ipst.ac.th/curriculum
สุรไกร นันทบุรมย์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้แบบผสานวิธี ห้องเรียนกลับด้าน พื้นที่การเรียนรู้ และการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารห้องสมุด, 61(2), 45-58.
อุไรวรรณ ชูศรียิ่ง. (2564). ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านแกหัสแฮดส้มโฮงวิทยา. (25 พฤษภาคม 2564). สัมภาษณ์.
ประมวล ศิริผันแก้ว. (2540). สมรรถภาพที่พึงประสงค์จากการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(96), 16-19.
ปิยพร ศักดิ์ภิรมย์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(3), 309-327.
พรรณทิวา อินทญาติ. (2564). ความสามารถในการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้แบบมีการโต้แย้ง. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(1), 47-58.
มัทนา นาคะบุตร. (2544). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน. นครปฐม: คณะมนุษยศษสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม.
พรรณวิไล ชมชิด. (2557). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.
เอกราช ตาแก้ว. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ธาตุและสารประกอบโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ศึกษา, 4(1), 72-83.
นพดล ศิลปะชัย. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการสื่อสารทางวิทยาศาสตร์และทักษะ การทำงานกลุ่ม เรื่อง โครงสร้างและหน้าที่ของพืชดอก โดยใช้การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมอด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ I ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 13 (1), 169-182.