การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับบาร์โมเดล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับบาร์โมเดล ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับบาร์โมเดล เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านทุ่งรูง สพป.สุรินทร์ เขต 1 อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 17 คน โดยใช้การวิจัยเป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์นักเรียน แบบบันทึกหลังการสอน แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า พบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับบาร์โมเดล สูงกว่าร้อยละ 70 2) นักเรียนมีความพึงพอใจ ที่มีต่อคณิตศาสตร์หลังได้รับโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ร่วมกับบาร์โมเดลอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ธนาวีย์รัต คุปตวุฒินันท์. (2558). การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง บทประยุกต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิค Bar Model. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วัฒนา โยธานัน. (2564). พิชิตโจทย์คณิตเข้าใจง่ายด้วยแผนภาพบาร์โมเดล ป.4-ป.6. กรุงเทพฯ: บริษัท วี. พริ้น (1991) จำกัด.ศรันย์ เปรมปรีดา. (2557). การพัฒนาชุดฝึกทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยทฤษฎีบาร์โมเดลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์:ประสานพิมพ์.
สมพร สีตาล. (2559). การพัฒนาชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนประชาอุปถัมป์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
สมศักดิ์ ภูวิภาดาวรรธน์. (2554). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. เชียงใหม่: เชียงใหม่โรงพิมพ์แสงศิลป์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุเทพ เมฆ. (2532). ความพึงพอใจในบรรยากาศในการเรียนการสอนของนักเรียนและครูโรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดกรมอาชีวศึกษา เขตการศึกษา12. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒประสานมิตร.
อ้อยใจ บุญช่วย. (2018). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Walailak Procedia, 2018(1), ss83-ss83.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง.เฮ้าส์.
อารี พันธ์มณี. (2544). จิตวิทยาการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เลฟแอนด์ลิพเพรส.
Cheong. (2009). The model method in Singapore.http://math.nie.edu.sg/.pdf Retrieved March 4, 2018.
Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. New York: McGraw-Hill Book Inc.
Kemmis S. (1988). Action Research In Keeves, J.P. (ens.). Educational Research Methodology, and Measurement: An International Handbook, Oxford: Pergamon Press, 45-49.
Nair, L. N. M. (2020). The development of Bar Model Fraction Kit in solving higher order thinking skills mathematics word problems.
Wallerstein, Harvey. (1971). Dictionary of Psychology. Maryland: Penguin Book Ine
Yeap Ban Har. (2008). Problem Solving in the Mathematics Classroom (Primary). Singapore: Foong Yuet Foong.