บทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) “ศิลปเพื่อชีวิต ศิลปเพื่อประชาชน”
Main Article Content
บทคัดย่อ
ศิลปเพื่อชีวิต ศิลปเพื่อประชาชน คือความคิดสังเคราะห์ในรูปแบบของบทความและบทวิจารณ์ ที่ประพันธ์ขึ้นมา โดยจิตร ภูมิศักดิ์ ภายใต้นามปากกาว่า “ทีปกร” โดยหนังสือเล่มนี้ ได้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 บท ประกอบไปด้วย บทที่ 1 อะไรหนอที่เรียกว่าศิลป? และที่เรียกว่าศิลปะเป็นของสูงส่งนั้น มันสูงส่งเพราะความซับซ้อน ศักดิ์สิทธิ์ หรือไฉน? บทที่ 2 ศิลปะบริสุทธิ์ มีจริงแท้หรือไฉน บทที่ 3 ที่ว่า “ศิลปเพื่อศิลป” นั้นคืออย่างไรกันแน่หนอ? บทที่ 4 “ศิลปเพื่อชีวิต” ความหมายของมัน โดยแท้จริงเป็นไฉน? และบทที่ 5 ศิลปะเพื่อประชาชน
หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมข้อคิดเห็นของผู้เขียนเกี่ยวกับศิลป ที่ได้ประพันธ์ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 โดยเนื้อหานั้นจะเป็นการจบ ในแต่ละตอนและมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะตอบปัญหาทางศิลป โดยที่ผู้เขียนนั้นต้องการจะบันทึกทฤษฎีทางศิลป ตามมุมมองของนักคิดประชาชน ดังจะเห็นได้จากคำนำของผู้เขียนที่ตอบคำถามที่ว่า
“ศิลปเพื่อประชาชนคืออย่างไร ทฤษฎีแห่งความงาม ของศิลป และความงามของชีวิตมีอย่างไร ความฝันและความจริง คืออะไร ความเป็นจริงกับความงามเกี่ยวข้องกันอย่างไร คตินิยมทางศิลปสาขาอัตถนิยมมีลักษณะอย่างไร อัตถนิยมทางสังคมนิยมใหม่จักต้องมีลักษณะสำคัญอย่างไร บทบาทของคติอัตตวิสัยและ ภววิสัยในศิลปมีขอบเขตเพียงใด บทบาทและเล่ห์เหลี่ยม ทางศิลปะของศักดินา และจักรวรรดินิยมในยุคปัจจุบันที่เราจะต้องต่อต้านอย่างเหนียวแน่นคืออย่างไร ภารกิจของศิลปินผู้รับใช้ประชาชน ในเงื่อนไขสังคมกึ่งศักดินากึ่งเมืองขึ้นอย่างไร ฯลฯ”
หนังสือ ศิลปเพื่อชีวิต ศิลปเพื่อประชาชน เป็นรูปแบบ ของแนวคิดที่สะท้อนชีวิตของประชาชนผู้ที่ถูกละเลยความสำคัญและมองข้าม กระทั่งสามารถเชื่อได้ว่าแนวคิดนี้เป็นแรงผลัก ของขบวนการทางเมืองของนักศึกษาช่วง 2516-2519 ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นการรวมบทความด้านศิลปะที่เป็นงานเขียนของจิตร จำนวน 4 เรื่อง เมื่อปี 2500 ภายใต้ชื่อ “ศิลปะเพื่อชีวิต” ซึ่งเป็นการพิมพ์ครั้งที่ 1 ร่วมกับสำนักพิมพ์เทเวศม์ ต่อมาเมื่อปี 2515 ได้มีการจัดพิมพ์ ครั้งที่ 2 ภายใต้ชื่อ “ศิลปเพื่อประชาชน” โดยสำนักพิมพ์เอื้องฟ้า กระทั่งได้ถูกนำมาตีพิมพ์ต่อเนื่องอีกหลายครั้ง (จากคำนำสำนักพิมพ์ โดย นิติ ตรีเกษม บรรณาธิการ พิมพ์ครั้งที่ 9)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
จิตร ภูมิศักดิ์. (2566). ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิติ้บุ๊คส์ (2006).