รูปแบบการเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยทางการบริหารจัดการ; The Writing Format of Research Conceptual Frameworks on Management

Main Article Content

สัญญา เคณาภูมิ

บทคัดย่อ

กรอบแนวคิดการวิจัยเป็นกรอบเชิงทฤษฎีที่ลดรูปลงมาใช้สำหรับการวิจัยเรื่องนั้นๆ แสดงให้เห็นถึงปัจจัยหรือความสัมพันธ์ของ
ปัจจัยหรือตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหรือปรากฏการณ์ที่นักวิจัยต้องการศึกษา หรือภาพพจน์ในการวิจัย กรอบคิดการวิจัย
อาจเขียนในรูปภาพจำลอง รูปแบบเชิงพรรณนา โดยทั่วไปการนำเสนอกรอบแนวคิดการวิจัยมักนำเสนอไว้ท้ายบทที่ 2 ของรายงานการ
วิจัย เนื่องจากเป็นความเหมาะสมที่จะนำเสนอภายหลังจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นการสร้างกรอบ
แนวคิดการวิจัยจะต้องมีกรอบพื้นฐานทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาที่ศึกษาหรือมโนภาพ ในเรื่องนั้นแล้วนำมาประมวลเป็นกรอบรูป
แบบความสัมพันธ์ต่างๆ เป็นแบบจำลองในการวิจัยต่อไป ซึ่งประเภทของกรอบแนวคิดการวิจัย อาจแบ่งเป็นดังนี้
1. กรอบแนวคิดเชิงองค์ประกอบ เป็นกรอบแนวคิดทางวิชาการเกี่ยวกับแนวคิดการบริหารจัดการที่เป็น “กลุ่มคำ” หลายด้านหรือ
หลายขั้นตอน กรอบแนวคิดแบบนี้นำมาใชใ้ นการศึกษา การทำวิจัย หรือการทำวิทยานิพนธ ์ กลา่ วคือเปน็ กรอบแนวคิดที่จัดกลมุ่ ประเด็นหรือ
องค์ประกอบของตัวแปรการวิจัย เช่น กลุ่มทรัพยากรสำหรับการบริหารจัดการที่เรียกว่า 3M-11M กลุ่มกระบวนการบริหารจัดการ หน้าที่ของ
การบริหารจัดการ ผลของการบริหารจัดการ/ผลของการดำเนินงาน/ผลของการปฏิบัติงาน กลุ่มปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการ
2. กรอบแนวคิดเชิงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เป็นกรอบแนวคิดที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระหว่างกลุ่มตัวแปร ซึ่งมีตั้งแต่
สองกลุ่มขึ้นไป โดยมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎี กฎ หรือ ผลการวิจัย ฯลฯ เพื่อผู้วิจัยจะได้นำไปตรวจสอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ว่ามี
ความสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร ตัวแปรจะแบ่งออกได้หลายชนิด ได้แก่ ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม ตัวแปรแทรกซ้อนหรืออาจเรียก
ว่าตัวแปรเกิน ตัวแปรสอดแทรก
3. กรอบแนวคิดเชิงกระบวนการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กรอบการวิจัย เป็นกรอบในการดำเนินการวิจัยหรือขั้นตอนการดำเนิน
การวิจัย หรือ กรอบการวิจัย หรือเรียกว่า กรอบการดำเนินการวิจัย อาจเขียนในรูปของแผนภูมิเป็นผังไหล แสดงให้เป็นถึงขั้นตอน
กิจกรรมและผลที่ได้รับจากการดำเนินงานวิจัย สื่อให้เข้าใจภาพรวมของการดำเนินงานวิจัยมักจะนำเสนอในการวิจัยและพัฒนา

A Research Conceptual Framework is a theoretical framework reduced to be used with a particular
research and demonstrate a relationship of concerned factors or variables, a phenomenon or research image
that researchers aim to study. A research conceptual framework may be written in a simulated model or in
a descriptive form. A research conceptual framework is usually presented after a review of related literature
at the end of the second chapter of a research report. The concept of research must have a basic theoretical or conceptual framework of thinking related to the issues or model of relationships being studied. Research
conceptual frameworks may be in one of the following types:
1. The Component Conceptual Framework is an academic framework related to management in terms
of various “groups of words” or “phrases” showing several aspects or steps. This type of conceptual framework
is used in a study or research, particularly thesis; that is, a conceptual framework presenting issues or
components of research variables.
2. The Relationship Conceptual Framework is the type of framework illustrating the relationship between
two or more variables based on concepts, principles, theories, laws, or research results, etc., to be verified
with empirical data in proof of their congruence. Variables are categorized into the following: independent,
dependent, extraneous and intervening variables.
3. The Process Conceptual Framework or Research Framework is the research procedure framework
or the research process or research flow chart. This may be written as a flow chart showing the procedure,
steps of activities and results of research implementation Illustrating comprehensive overview of research
operation, usually presented in Research and Development.

Article Details

บท
บทความวิชาการ