การวิเคราะห์อภิมาน และการสังเคราะห์อภิมาน;Meta-Analysis and Meta-Synthesis

Main Article Content

นิติบดี ศุขเจริญ
วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์อภิมาน และการสังเคราะห์อภิมาน เป็นส่วนหนึ่งของการสังเคราะห์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ ในเชิงปริมาณ และเชิง
คุณภาพ ตามลำดับ เป็นวิธีการสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อลดค่าความลำเอียง และจัดระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อข้อสรุปที่มีความน่าเชื่อ
ถือ ทั้งนี้ระหว่างวิธีการวิเคราะห์อภิมาน และการสังเคราะห์อภิมานมีความคล้ายคลึงกันในประเด็นของจำนวนคนผู้มีส่วนร่วมในการจัด
กระทำควรมีตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยใช้การประเมินคุณภาพการวิจัยในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ที่มีจำนวนมากพอในการนำมาวิเคราะห์
โดยเครื่องมือสนับสนุนเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีส่วนช่วยในการวิเคราะห์ง่ายมากยิ่งขึ้น ส่วนความแตกต่างมีหลายประเด็น คือ
การวิเคราะห์อภิมาน มักใช้งานวิจัยที่มาจากสาขาวิชาใกล้เคียงกันที่มีข้อมูลเชิงปริมาณเท่านั้น โดยใช้วิธีการทางสถิติมาเป็นส่วนช่วยใน
การวิเคราะห์ เพื่อแสดงค่าความสัมพันธ์และเปรียบเทียบเป็นค่าเชิงปริมาณระหว่างตัวแปรที่สนใจ ส่วนการสังเคราะห์อภิมานเป็นงาน
วิจัยที่อาจรวบรวมมาจากสาขาวิชาที่แตกต่างกันได้ โดยมีลักษณะในเชิงคุณภาพเป็นหลัก โดยอาจใช้เชิงปริมาณร่วมด้วยหากมีประเด็น
เดียวกัน นำมาวิเคราะห์ในกระบวนการเชิงคุณภาพ เพื่อนำไปสู่การอธิบายประเด็นที่สนใจ และมีเป้าหมายเพื่อนำไปสู่การสร้างสิ่งใหม่
เช่น นโยบาย เป็นต้น

Meta-Analysis and Meta-Synthesis are parts of systematic research reviews in quantitative and
qualitative analyses, respectively. They are methods of research synthesis to reduce bias and systemize
data analysis for reliable conclusion. Both Meta-Analysis and Meta-Synthesis are similar in that at least two
participants are involved in the process, by assessing the research quality in determining the sample size
large enough for research analysis using computer software programs. The followings are differences
between Meta-Analysis and Meta-Synthesis: Meta-Analysis only involves making use of quantitative studies
in related fields by using statistics in analyzing data to determine relationships and compare quantitative
values between interesting variables; in contrast, Meta-Synthesis is a study that involves mainly qualitative
studies of different areas or disciplines, probably with quantitative studies on similar or the same issues.
Studies are analyzed qualitatively for discussion of interesting results or issues, aiming at creating or generating
new ideas, such as policies, etc.

Article Details

บท
บทความวิจัย