Graduate Students’ Intentions to Writing Thesis without Plagiarism

Main Article Content

Thanayot Sumalrot

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาตัวแปรที่ร่วมกันทำนายเจตนาในการทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ลอกเลียนผล
งานวิชาการและวรรณกรรมของผอูื้่น ไดแ้ ก ่ เจตคติ การคลอ้ ยตามกลมุ่ อา้ งอิง และการรับรคู้ วามสามารถของตนเอง ประการที่สอง เพื่อ
ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรดังกล่าวที่ใช้วิธีการวัดทางตรง และทางอ้อม และประการที่สาม เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
เจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถของตนเองที่ใช้วิธีการวัดทางตรงกับเจตนาในการทำวิทยานิพนธ์โดยไม่
ลอกเลียนผลงานวิชาการและวรรณกรรมของผู้อื่นผู้วิจัยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนของไอเซ่นเป็นกรอบในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง
เป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในกลุ่มวิชาทางด้านศึกษาศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการ
ศึกษา 2555 ในหลักสูตรนอกเวลาราชการของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแห่งหนึ่งในภาคเหนือ จำนวน 135 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่ม
ตัวอยา่ งแบบแบง่ กล่มุ ตามหลกั สตู รทีศ่ กึ ษาโดยคำนึงถงึ สดั สว่ น แบบสอบถามพฒั นาขึ้นตามแนวทางการสรา้ งแบบสอบถามทีอิ่งทฤษฎี
พฤติกรรมตามแผนของไอเซ่น มีจำนวน 83 ข้อ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .91 ใช้การวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณวิธี Enter ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า
ตัวแปรทำนายที่ใช้วิธีการวัดทางตรงสามารถร่วมกันทำนายเจตนาในการทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ลอกเลียนฯ ได้ร้อยละ 36.6 อย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) โดยเฉพาะตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองที่มีค่าสัมประสิทธิ์เบต้าสูงที่สุดเท่ากับ .291 สำหรับ
ความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการวัดแบบทางตรงและทางอ้อมในแต่ละตัวแปรพบว่าการวัดเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้
ความสามารถของตนเองในการทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ลอกเลียนฯ มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดย
มีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .37, .52 และ .28 ตามลำดับ นอกจากนั้นพบว่าเจตคติทางตรง การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงทางตรงและการรับรู้
ความสามารถของตนเองทางตรง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับเจตนาในการทำวิทยานิพนธ์โดยไม่ลอกเลียนฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .30, .42 และ .49 ตามลำดับสรุปได้ว่านักศึกษาจะลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่
กับการรับรู้ว่าตนเองมีความสามารถมากน้อยเพียงใดในการเขียนวิทยานิพนธ์ นอกจากนั้นในการใช้แบบสอบถามที่อิงกรอบทฤษฎี
พฤติกรรมตามแผน ผู้วิจัยควรสร้างและใช้ทั้งวิธีการวัดทางตรง และทางอ้อมร่วมกัน เนื่องจากพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ใน
ระดับที่ไม่สูง แม้ว่าทั้งสองวิธีจะมีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก็ตาม

This study aimed 1) to examine the predictive power of predictor variables on intention to writing thesis
without plagiarism 2) to examine the relationship between the variables which are measured by direct method
and by indirect method according to Theory of Planned Behavior and 3) to examine relationship between the
predictive variables (attitude, subjective norm and perceived behavioral control) that measured directly and
intention to write thesis without plagiarism.The Ajzen’s Theory of Planned Behavior was chosen as a research  framework to examine the relationship among variables. Samples were 135 Thai graduate students who were
enrolled in extraordinary programs in education and public administration held during the 1st semester of
2012 in autonomous university in the north of Thailand. The participants were selected randomly by using
proportional cluster random sampling. The research tool based on TPB was developed and consisted of
eighty-three items (α = .91). The Person Product Moment Correlation and multiple regression with enter
method were employed to analyze the data.
Results were found thatall predictor variablescan significantly predict intention to writing thesis without
plagiarism (R2 = 0.366, F = 25.243, p < .01) especially perceived behavioral control (b = .291). There was a
significant positive correlation between each variable that measured in different way -direct and indirect- such
as attitudes toward behavior (r = .37, p < .01), subjective norms (r = .52, p < .01) and perceived behavioral
control (r = .28, p < .01). All three predictive variables were significantly positive correlated with intentions to
writing thesis without plagiarism -attitude toward behavior (r = .30, p < .01), subjective norms (r = .42, p <
.01) and perceived behavioral control (r = .49, p < .01). In conclusion, the perceived behavioral control was
the highest coefficient value in the model. It indicated that the feeling of controllability or self-efficiency affected
students’ plagiarizing in writing thesis. Although there were statistically positive correlations between direct
and indirect method, its value of correlation coefficients were not high. Thus it is necessary to use both.

Article Details

บท
บทความวิจัย