การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

รัตนภรณ์ สมบูรณ์
ประสพสุข ฤทธิเดช
ภูษิต บุญทองเถิง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเพื่อสื่อสารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ก่อนเรียนกับหลังเรียน 3) และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านตลาดม่วง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 21 คน ได้โดยการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา 1) แผนการจัดการเรียนรู้การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสื่อสารภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ 2) แบบทดสอบความสามารถด้านการเขียนสื่อสารภาษาไทย 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐานและการใช้การทดสอบที t-test (Dependent Samples)


            ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ปรากฏผลการวิจัยดังนี้ 1) ความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ มีประสิทธิภาพ 82.50/87.38 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ ที่ตั้งไว้ 80/80  2) ความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อความสามารถด้านการเขียนภาษาไทยเพื่อการสื่อสารโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD ร่วมกับแบบฝึกทักษะ โดยรวมอยู่ในระดับที่มากที่สุด (equation= 4.52, S.D. = 1.63)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยา.

ปิยะธิดา ปัญญา. (2562). สถิติสำหรับการวิจัย. มหาสารคาม:ตักสิลาการพิมพ์.

ประสพสุข ฤทธิเดช. (2558). นวัตกรรมการศึกษาการสอนภาษาไทย. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์.

ไพศาล วรคำ. (2561). การวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

รินณา วิถาทานัง และคณะ. (2554). การพัฒนาทักษะการเขียนสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะมุ่งประสบการณ์ภาษา โรงเรียนบ้านจอกขวาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรยนรู้แกนกลาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Slavin. (1995). Cooperative Learning Theory Research and Practice. USA: University of Michigan.