การศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพความสามารถในการใช้ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน 184 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.55-0.97 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และแบบสัมภาษณ์การวิจัยแบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า 2.1) ด้านการแก้ปัญหาของมนุษย์ ประกอบด้วย การมอบงานโดยคำนึงถึงความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล ความสามารถพิเศษเฉพาะด้านของแต่ละบุคคล 2.2) ด้านความเชี่ยวชาญ ประกอบด้วย การเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงในแต่ละสถานการณ์ ฝึกฝนและพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 2.3) ด้านกลยุทธ์การตัดสินใจ ประกอบด้วย ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน 2.4) ด้านการลดสารสนเทศ ประกอบด้วย การรายงานการปฏิบัติงานผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายและอำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร 2.5) ด้านสติปัญญา ประกอบด้วย การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความคิดเชิงระบบ หาจุดแข็ง และจุดอ่อน ของตนเอง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารโรงเรียนยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. วารสาร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 1(1), 304-306.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษา: กรณีทัศนะต่อการศึกษาศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: หจก.ทิพยวิสุทธิ์.
Drake, Thelbert L; & Roe, William, H. (1986). The Principalship. New York: Macmillan.
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
National Research Council (2011). Assessing 21st century Skills. Washington, DC: National Academies Press.
Office of the Education Council. (2013). Thai Education Situation in the World Stage 2013. Bangkok: Prikwan Graphic. [in Thai]
Panich, W. (2017). Meeting and presentation of national academic performance for the 4th time on “Route to educational quality in Thailand 4.0 era” on 8th January, 2017, at Starwell Conference Center, Nakhon Ratchasima Province arranged by Faculty of Education, Vongchavalitkul University.
Sanguan Nam, C. (2010). Theory and practice in school administration. Bangkok: Bookpoint.
Simon, H. A. (1957). Administrative Behavior: A Study of Decision-Making Processes in Administrative Organizations, 2nd Edn. New York, NY: Macmillan.
Sook, Choi. (2011). An Analysis of ‘Informatics’ Curriculum from the Perspective of 21st Century Skills and Computational Thinking. Institute of Computer Education Journal.
Wang, Y., Tsai, C.-H., Tsai, F.-S., Huang, W., la Cruz, D., & Malapitan, S. (2018). Antecedent and consequences of psychological capital of entrepreneurs. Sustainability, 10(10), 3717.