การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับแบบฝึกทักษะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทย ด้วยเทคนิค KWL-Plus ร่วมกับแบบฝึกทักษะให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับแบบฝึกทักษะ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 39 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ จังหวัดมหาสารคาม ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า (1) กิจกรรมการเรียนรู้การอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.32/85.13 (2) นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ โดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทยหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จุฬารัตน์ อินทร์อุดม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทองจันทร์ เทพดู่. (2556). การสร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านตาดภูวง อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ธิดาภรณ์ ทองหมื่น. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กลวิธีสอนแบบ KWL Plus ร่วมกับเทคนิค DR-TA เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เมขลา ลือโสภา. (2555). การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปี 2565. มหาสารคาม: โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มหาสารคาม.
ไลวัลย์ สิงห์ซอม. (2555). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยและความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้สำหรับครูมืออาชีพ. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). การออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดแบบ Backward Design (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาสารคาม: กากะเยียสำนักพิมพ์.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สมฤดี ทาแดง. (2564). การจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความด้วยเทคนิค KWL Plus ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อรพัทธ ศิริแสง. (2558). การศึกษาความสามารถด้านการอ่านจับ ใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ใช้วิธีสอนอ่านแบบ MIA. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Carr, E., & Ogle, D. (1987). K-W-L Plus A Strategy for Comprehension and Summarization. Journal of Reading, 30(April), 626-631.