ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฐนันท์ นามธนาภา
พงศธร ตันตระบัณฑิตย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ 2) วิเคราะห์ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ และ 3) ศึกษาปัจจัยความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยเป็นกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ผู้วิจัยรวบรวมโดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยแบบสอบถาม


            ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ส่วนใหญ่ซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านช่องทาง Facebook ใช้โทรศัพท์สมาร์ทโฟนเป็นหลัก นิยมซื้ออาหารเสริมมากที่สุด มีความถี่ในการซื้อสินค้าสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ส่วนมากผู้บริโภคซื้อสินค้าที่มีราคาสินค้าเฉลี่ยต่อการซื้อหนึ่งครั้ง เฉลี่ยที่ 500-1,000 บาท ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์และด้านลักษณะทางกายภาพมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้บริโภค ในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับ การซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ และงานวิจัยชิ้นนี้ยังพบว่าความพึงพอใจของผู้บริโภคมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานครผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนาวดี สำลีเทศ และณัฐพัชร์ อภิวัฒน์ไพศาล. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผล ต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางในระบบออนไลน์ของ GEN Z ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปศาสตร์, 3(3), 329-343.

กรรณิการ์ ชัยอำนาจ และกฤษฎา มูฮัมหมัด. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ออนไลน์ ผ่านทางแอพพลิเคชั่น SHOPEE ของคนวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรังสิต, 956-968.

เกสริน ขันธจีรวัฒน์. (2563). การศึกษาปัจจัยพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชัน TikTok ชาวไทยและจีน. (สารนิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรบัณฑิต). กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จีรพัฒน์ พิชัยกมลศิลป์. (2563). การตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์และความไว้วางใจที่มีผลต่อการตัดสินใจ. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). เชียงใหม่: สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พัชรพร คำใส. (2565). ปัจจัยการซื้อสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกร้านค้าของผู้บริโภค. (สารนิพนธ์ปริญญา การจัดการมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เพียงธาร เอื้อจารุพร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภักดีในตราสินค้าของสินค้าลักซ์ชัวรี่แฟชั่นแบรนด์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

รณิดา อัจกลับ. (2562). ความพึงพอใจและพฤติกรรมการมี ส่วนร่วม Challenge ในแอปพลิเคชัน TikTok ของผู้ใช้ที่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ไตรภพ คำสัตย์ และสิทธิชัย ฝรั่งทอง. (2566). ส่วนประสมทางการตลาดที่ผู้เล่นเกมออนไลน์ใช้ตัดสินใจซื้อเกมออนไลน์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 5(1), 19-31.

วราพร ดำจับ. (2562). สื่อสังคมออนไลน์กับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปศาสตร์, 7(2), 143-59.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). ผลสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ ไทยปี 2565. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-Reveals-the- Value-of-e-Commerce-in- 2022.aspx.

อุษณีย์ พุกกะมาน, พริ้มเพรา อัญญะโพธิ์, แสงจันทร์ ศรีประเสริฐ, และเขมิกา แสนโสม. (2552). การศึกษากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดของร้านสะดวกซื้อ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(2), 47-56

Cronbach. L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Hair Jr., J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. F. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective, (7th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Hanna, N., & Wozniak, R. (2001). Consumer Behavior: An Applied Approach. Upper Saddle River. New Jersey: Prentice Hall.

Schiffman, L.G., & Kanuk, L L. (1994). Consumer behavior. (5th ed.). Englewood Cliffs, N.J.: Prentice-Hall.

Shelly, D.F. (1995). Tackling family member compensation. American Printer, 215, 2.

Tantrabundit, P., Phothong, L. & Chanprasitchai, O. (2018). The effects of negative electronic word-of-mouth and Webcare on Thai online consumer behavior. International Journal of Economics and Management Engineering, 12(6), 662-674.