การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญรายวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค 5W1H
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค 5W1H ที่ส่งเสริมการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียน ดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค 5W1H หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 75 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค 5W1H กลุ่มตัวอย่างในการทำวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ใช้เทคนิคการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบวัดความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ เป็นแบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค 5W1H ที่ส่งเสริมการอ่านจับใจความสำคัญ ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 86.99/84.09 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค 5W1H หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 84.09 สูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค 5W1H โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( = 4.52)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ๚: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤษณา ทิมสี. (2564). ทักษะการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. โรงเรียนเรืองวิทย์พิทยาคม. กำแพงเพชร: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชร.
ถนอมวงศ์ ล้ำยอดมรรคผล. (2561). การอ่านให้เก่ง. นนทบุรี: สำนักพิมพ์กระดาษสา.
ภัทรสุดา นาคสุข. (2564). การพัฒนาความสามารถทางการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิคการสอน 5W1H ร่วมกับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์. (2565). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา ประจำปี 2565. มหาสารคาม. โรงเรียนโกสุมวิทยาสรรค์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม.
เสกสรร แดงสุวรรณ. (2565). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้เทคนิค 5W1H สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีนครมูลนิธิ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สิรินาถ เม่นเผือก. (2565). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค 5W1H. (ปริญญาครุศาสตรมหา บัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สิรินรัตน์ น้อยเจริญ. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุวิทย์ มูลคำ. (2550). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.