การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลวาปีปทุม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่าน การเขียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียนของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความสามารถด้านการอ่าน การเขียน หลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการอ่าน การเขียน คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 15.25 คะแนน หลังเรียน 29.13 คะแนน ซึ่งคะแนนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. จำกัด.
กำชัย ทองหล่อ. (2552). หลักภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
ฐะปะนีย์ นาครทรรพ. (2545). การสอนภาษาไทยในระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2560). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์. Verridian E-Journal Silpakorn University, 10(1).
นิตย์ พรหมประสิทธิ์. (2559). การแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านภาษาไทย กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านลาแล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. รายงานการศึกษาส่วนบุคคล สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2558). แนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการ การศึกษาด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูมและคณะฉบับปรับปรุง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 3(2), 13-25.
มิรินด้า บูรรุ่งโรจน์ และคณะ. (2560). เทคนิคและกลวิธีการสอนภาษาไทยตามแนววทางทวิ-พหุภาษาศึกษ า (เล่มที่ 6). ในหนังสือชุดองค์ความรู้การพัฒนาการศึกษาโดยใช้ภาษาแม่เป็นฐานตามแนวทางทวิ-พหุ ภาษาศึกษา. ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤตสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรม เอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิษณุ ทรัพย์สมบัติ. (2562). ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2562 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 15, 2565 จาก https://bet.obec.go.th/wpcontent/ uploads/2020/06/onet-p3m3m62562.pdf
วรรณี โสมประยูร. (2544). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
โสภิตา มูลเทพ. (2564). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียน
สะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับเกมการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 550-568.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2557. ราชกิจจานุเบกษา. ค้นวันที่ 8 กันยายน 2560 จาก http://www.senate.go.th/w3c/senate/pictures/ comm/52/lawguide/law1/6.pdf.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579).
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2561). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
อุทัยวรรณ ปิ่นประชาสรร. (2557). กลวิธีการสอนภาษาไทยให้สนุก.กรุงเทพฯ: บริษัทอิงค์คอนเปเปอร์ จำกัด.
Kerlinger, F. N. (1986). Foundations of Behavior Research. Japan: CBS.