การจัดประสบการณ์เกมการศึกษาโดยใช้สื่อพื้นบ้านที่ส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาโดยใช้สื่อพื้นบ้านที่ส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย ตามเกณฑ์ 75/75 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานก่อนและหลังการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาโดยใช้สื่อพื้นบ้านที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชาย หญิง อายุ 3-4 ขวบ จำนวน 17 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าไม้ สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองกันทรลักษ์ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน รวมระยะเวลาในการทดลอง 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน ๆ ละ 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนจัดประสบการณ์ จำนวน 20 แผน แบบวัดทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเปรียบเทียบ ด้านการจำแนก ด้านการจับคู่หนึ่งต่อหนึ่ง และด้านการเรียงลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาโดยใช้สื่อพื้นบ้านที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 90.59/88.55 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) เด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าไม้ ที่เรียนโดยการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาโดยใช้สื่อพื้นบ้าน มีทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทั้งโดยภาพรวม และรายด้าน 4 ด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ
ดารณี อุทัยรัตนกิจ. (2553). คู่มือจัดประสบการณ์เรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับวัยอนุบาลตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2553. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ พัฒนาคุณภาพวิชาการ จำกัด.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญพร ผุยบัวค้อ. (2562). การจัดกิจกรรมเกมการศึกษาจากเมล็ดพืช เพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. (ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วราภรณ์ ศรีทอง. (2563). ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษา. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครินทร์.
สิริมณีบรรจง. (2549). เด็กปฐมวัยกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9199 เทคนิคพริ้นติ้งนิทาน.
สุพิชฌาย์ ทนทาน. (2559). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อัชราภรณ์ ฟักปลั่ง. (2564). การพัฒนาเกมการศึกษาโดยใช้สื่อ การธรรมชาติ เพื่อเสริมสร้างทักษะ คณิตศาสตร์พื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.