การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมเม็ดขนุนโดยใช้ไอโซมอลทูโลสเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณที่เหมาะสมของไอโซมอลทูโลส (พาลาทีน) ที่ใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลและมะพร้าวในผลิตภัณฑ์ขนมเม็ดขนุน และเพื่อศึกษาการยอมรับของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ขนมเม็ดขนุนเพื่อสุขภาพ โดยศึกษาอัตราส่วนระหว่างน้ำตาลทรายต่อไอโซมอลทูโลส จำนวน 5 สูตร ได้แก่ 100:0 (สูตรควบคุม) 75:25 50:50 25:75 และ 0:100 ตามลำดับ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลทั่วไป จำนวน 100 คน พบว่าการทดแทนน้ำตาลทรายต่อไอโซมอลทูโลส ที่อัตราส่วน 75 : 25 กลุ่มตัวอย่างให้การยอมรับในด้านกลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับชอบมากที่สุด (p<0.05) จากนั้นนำขนมเม็ดขนุนที่อัตราส่วนนี้ศึกษาการเติมเนื้อมะพร้าวอ่อนและมะพร้าวทึนทึก จำนวน 3 ระดับ ได้แก่ ร้อยละ 5, 10 และ 15 ตามลำดับ ทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัสโดยกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริโภคทั่วไป จำนวน 50 คน พบว่า ขนมเม็ดขนุนซึ่งทดแทนด้วยไอโซมอลทูโลส และเสริมมะพร้าวอ่อนร้อยละ 15 ได้รับการยอมรับในด้านกลิ่น รสชาติ เนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับชอบมากที่สุด และจากการสำรวจการยอมรับขนมเม็ดขนุนโดยใช้ไอโซมอลทูโลสเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล คิดเป็นร้อยละ 100 และตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์คิดเป็นร้อยละ 82 ผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของขนมเม็ดขนุนเสริมมะพร้าวอ่อน พบว่า คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค (100 กรัม) ประกอบด้วย ไขมัน, โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ที่ร้อยละ 9, 9 และ 42 ตามลำดับ และมีพลังงานทั้งหมด 290 กิโลแคลอรี่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
ขนิษฐ์ รัตนรังสิมา. (2555). สถานการณ์การบริโภคน้ำตาลของประชากรไทย ปี 2540-2553. วิทยาสารทันตสาธารณสุข, 17(2), 23-30.
ณัชฌา พันธุ์วงษ์, อัครพล ไวเชียงค้า และอิทธิพล เอนกธนทรัพย์ (2565). การศึกษาและการสร้างตำรับผลิตภัณฑ์เม็ดขนุนจากแห้วและฟักจากภูมิปัญญาชุมชนบ้านสวนขิง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารคหกรรมศาสตร์และวัฒนธรรม อย่างยั่งยืน, 4(2), 75-90.
ณัชฌา พันธุ์วงษ์, อัญชนีย์ อุทัยพัฒนาชีพ และสิริพันธุ์ จุลกรังคะ. (2553). การลดค่าดัชนีน้ำตาลในผลิตภัณฑ์ซาลาเปา. ในการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาส่งเสริมการเกษตรและคหกรรมศาสตร์, 3-5 กุมภาพันธ์ 2553, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร, 90-98.
ณัฐพัชร นามจัด. (2566). ดัชนีน้ำตาลและมวลน้ำตาลของขนมหวานที่มีชื่อเสียงประจำจังหวัดในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันทนีย์ เกรียงสินยศ. (2553). การศึกษาค่าดัชนีน้ำตาลการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำตาลและการเผาผลาญสารอาหารเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานภายหลังการรับประทานน้ำตาลไอโซมอลตูโลส. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันโภชนาการ.
อลงกต สิงห์โต, อุไรภรณ์ บูรณสุขสกุล, รังสิมา ดรุณพันธ์, นริศา เรืองศรี และอารีย์ ประจันสุวรรณ. (2566). การยอมรับและความพึงพอใจต่อตำรับข้าวหลามที่ใช้ไอโซมอลทูโลสเป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล. บูรพาเวชสาร, 10(1), 18-28.