การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทย โดยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง การอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ก่อนและ หลังการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนรายวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/13 จำนวน 39 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก ตั้งแต่ 0.63-0.75 และมีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.25-0.75 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทย จำนวน 15 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.52-0.91 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. การจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.43/82.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด มีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับแผนผังความคิด มีเจตคติต่อการเรียนวิชาภาษาไทยโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.97 อยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ณัฐกร ทูลสิริ. (2561). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้เทคนิค SQ4R. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน). เชียงราย:มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
โทนี่ บูชาน. (2551). ใช้หัวคิด. แปลโดย ธัญญา ผลอนันต์.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ขวัญข้าว.
ธัญญา ผลอนันต์ และขวัญฤดี ผลอนันต์. (2550). Mind Map กับการศึกษาและการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ขวัญข้าว 94.
นริศรา ชยธวัช. (2563). การพัฒนาทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิค พริ้นติ้ง.
ศิริญญา ศรีคํา, พัชรา อิสลาม และบุญสม ทับสาย. (2558). SQ4R กับการพัฒนาการอ่านเพื่อจับใจความ. ใน พัฒนางานวิจัย สร้างสรรค์ประเทศไทย ก้าวไกลสู่ประชาคมอาเซียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ในการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.
สุคนธ์ สินธนานนท์. (2554). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: หจก.9119 เทคนิคพริ้น.
สุคนธ์ สินธพานนท์และคณะ. (2562). หลากหลายวิธีสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ: หจก.9119 เทคนิคพริ้น.
สมัย ลาสุวรรณ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความ โดยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการเรียนการสอน). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2554). ทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน(พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ซี.ซี.นอลลิดจ์ลิงคส์.
อพันตรี พูลพุทธา. (2565). การวิจัยการศึกษา. มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.