ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวงจรการตั้งสมมติฐานนิรนัย ที่มีผลต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

เมธาพร อนันทวรรณ
ฐิติวรดา พลเยี่ยม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1)เพื่อพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช หลังการจัดการเรียนรู้แบบวงจรการตั้งสมมติฐานนิรนัย ให้ผ่านเกณฑ์ระดับดี 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวงจรการตั้งสมมติฐานนิรนัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนจำนวน 32 คน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/12 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวงจรการตั้งสมมติฐานนิรนัยเรื่อง การดำรงชีวิตของพืช  2) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test (dependent Sample)


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวงจรตั้งสมมติฐานนิรนัย มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ผ่านเกณฑ์ระดับดี จำนวน 28 คน ไม่ผ่านเกณฑ์ระดับดี จำนวน 4 คน โดยมีคะแนนรวมเฉลี่ยเท่ากับ 19.93 คิดเป็นร้อยละ 66.45 ตามลำดับ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวงจรตั้งสมมติฐานนิรนัย มีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 8.40 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 17.84 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2560). รายงานสรุปผลการประเมินประสิทธิภาพขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

เกรียงไกร อภัยวงศ์. (2548). ผลของการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการตั้งสมมติฐานนิรนัยที่มีความสามารถในการให้ตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และมโนทัศน์ชีววิทยา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช. (2542). แนวคิดทางวิทยาศาสตร์: กระบวนการพื้นฐานในการวิจัยประมวลบทความการเรียนการสอนและการวิจัยระดับมัธยมศึกษา. ใน หนังสือชุดปฏิรูปการศึกษา แนวคิดและแนวปฏิบัติสำหรับครูเพื่อรองรับมาตรฐานเกณฑ์วิชาชีพครู, (น. 38-39). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุลีพร บุตรโคตร. (2555). ครูสอนวิทย์วิกฤติหนัก-สสวทจี้รัฐเร่งแก้: สอนนอกห้อง-พัฒนาครู-ปรับระบบวัดผลแนะสร้างแรงจูงใจ'เว้นภาษี-ให้สิทธิพิเศษ. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2566 จาก https://shorturl.asia/hjW48.

ทศพล สุวรรณพุฒ. (2562). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง เทคโนโลยีดีเอ็นเอ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). พิษณุโลก:มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พิมพ์ใจ เกตุการณ์ และคณะ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหา และเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพศาล สุวรรณน้อย. (2559). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(Problem-based Learning: PBL). ใน เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเรียนการสอน:สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ฝ่ายวิชาการ, (น. 9). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เฟาซียะห์ ดือเราะ. (2558). การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้แบบการตั้งสมมติฐานนิรนัย เรื่อง เคมีอินทรีย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). สงขลา:มหาวิทยาลัยทักษิณ.

ฝ่ายวิชาการโรงเรียนเดชอุดม. (2560). รายงานผลการดำเนินงาน วิชาการของนักเรียนโรงเรียนเดชอุดม ปีการศึกษา 2566. โรงเรียนเดชอุดม.

มนตรี วงษ์สะพาน. (2563). พื้นฐานการวิจัยทางหลักสูตรและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

วิริยาภรณ์ ชมภูวงศ์. (2563). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบการตั้งสมมติฐานนิรนัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาสารคาม:มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศรัลยา วงเอี่ยม และคณะ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา เรื่อง สิ่งีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สํานักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). สภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Joe, T., & John, B. (2015). Innovation and Entrepreneurship Roman by Thomson Digital. India: Wiley.

Kuhn, D. (1993, June). Science as argument: Implications for teaching and learning scientific Thinking. Retrieved June 21, 2023, from https://shorturl. asia/tsfi2.

Lawson, A. E. (1995). Science teaching and Development of Thinking. California, Wadsworth.

Lawson, A. E. (2009. May 28). Basic inferences of scientific reasoning, argumentation, and discovery. Retieved June 10, 2023, from https://doi.org/10.1002/sce.20357.

Lawson, Abraham, & Renner. (1989). Minessota K-12 Science framework. Minessota, Minessota University.

Han, S., Capraro, R., and Capraro, M. M. (2014). How Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) Project-based Learning (PBL) affects High, Middle and Low Achievers Differently, The Impact of Student Factors on Achievement. International Journal of Science and Mathematics Education, 201-220.