การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานให้ผ่านเกณฑ์ระดับดี กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 7 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) 3 วงจรปฏิบัติการ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง การแยกสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 5 แผน รวม 15 ชั่วโมง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61-4.83, S = 0.12-0.28) และ 2) แบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ แบบอัตนัยจำนวน 3 ชุด จำนวน 3 ข้อ/ชุด รวม 9 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงโดยค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออ การสอบแต่ละครั้งมีคะแนนเต็ม 12 คะแนน เกณฑ์ผ่านระดับดี ตั้งแต่ 8 คะแนน พบว่าเมื่อสิ้นสุดวงจรปฏิบัติการที่ 1 มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ความคิดสร้างสรรค์ที่กำหนดในระดับดี จำนวน 3 คน ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 4 คน มีความคิดสร้างสรรค์รวมทุกด้านเฉลี่ยเท่ากับ 6.86 (S = 1.07) วงจรปฏิบัติการที่ 2 มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ความคิดสร้างสรรค์ที่กำหนดในระดับดี จำนวน 5 คน ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินจำนวน 2 คน มีความคิดสร้างสรรค์รวมทุกด้านเฉลี่ยเท่ากับ 8.29 (S = 1.11 ) และวงจรปฏิบัติการที่ 3 มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ความคิดสร้างสรรค์ที่กำหนดในระดับดีทุกคน โดยมีความคิดสร้างสรรค์รวมทุกด้านเฉลี่ยเท่ากับ 10.00 (S = 0.82)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรสภาลาดพร้าว.
กฤษณา โภคพันธ์. (2554). การพัฒนาแนวคิดเรื่องดาราศาสตร์และอวกาศและเจตคติทางวิทยาศาสตร์ขอองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ศษ.ม. สาขาวิทยาศาสตรศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
โกเมศ นาแจ้ง. (2554). ผลของการจัดการเรียนการสอน โดยใช้ CIS ที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ และมโนทัศน์เรื่อง กฎการเคลื่อนที่และแบบของการเคลื่อนที่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จารุวรรณ เสียงไพเราะ. (2554). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพอลิเมอร์ธรรมชาติโดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
ณัฏฐ์ ดิษเจริญ, กรวัฒน์ พลเยี่ยม, พนิดา วังคะฮาต และปุริม จารุจำรัส. (2557). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้โครงสร้างอะตอมและพันธะเคมีด้วยเทคโนโลยีออกเมนเต็ดเรียลลิตี้. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 5(1), 21-27.
ณัฐวรรณ ศิริธร และเอกภูมิ จันทรขันตี. (2562). การจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยวิธีการโต้แย้งเพื่อพัฒนา ความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง แรง มวล และการเคลื่อนที่. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 130-141.
ธณัฏฐา คงทน, บุญนาค สุขุมเมฆ, และชาตรี ฝ่ายคำตา. (2559). การพัฒนาแนวคิดเรื่องเคมีอินทรีย์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ที่ใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 7(1), 62-76.
ปัญจนาฏ วรวัฒนชัย. (2565). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์. วารสารครุศาสตร์สาร, 1(16), 27-28.
รมิดา ชาญประโคน. (2553). การพัฒนาการคิดสร้างสรรค์ทาง วิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมชุมนุมเยาวชนนักประดิษฐ์คิดค้นของนักเรียนมัธยมศึกษาช่วงชั้นที่ 3. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้, 1(1), 1-11.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). คู่มือการใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ฉบับอนาคต. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักงานเลขาธิการสภาศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2575. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
สิทธิโชค เอี่ยมบุญ. (2563). การศึกษาความคิดสร้างสรรค์ และความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน.มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 8(1), 159-172.
มัชฌิมา เส็งเล็ก, เรขา อรัญวงศ์ และเลอลักษณ์ โอทกานน์. (2564). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสาราวไลยลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์แลสังคมศาสตร์), 11(2), 91-103.
เสาวรภย์ แสงอรุณ, นวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์ และดวงเดือน สุวรรณจินดา. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง พันธะเคมี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดสุทธิวราราม กรุงเทพมหานคร. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(2), 157-173.
หนึ่งฤทัย เกียรติพิมล, พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์, และรสริน พลวัฒน์. (2560). ผลของการใช้แนวคิดการสร้างตัวแทนความคิดที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(1), 188-203.
อารี พันธ์มณี. (2543). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒประสานมิตร.
Anderson, R. D. (1970). Developing Children 's Thinking Through Science. Englewood Cliff: New Jersey Prentice-Hall.
Buckley, B. C., Gobert, J. D., Kindfield, A. C., Horwitz, P., Tinker, R. F., Gerlits and B., … and Willett, J. (2004). Model-based teaching and learning with Bio LogicaTM. What do they learn? How do they learn? How do we know?. Journal of Science Education and Technology, 13, 23-41.
Gobert, J. D. and Buckley, B.C. (2002). Introduction to model-based teaching and learning in science education. International Journal of Science Education, 22(9), 891-894.
Guilford, J. P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: MeGraw-Hill Book Co.
Hassard, J. (1999). Science as Inquiry: Activated learning, Project-based, Web-assisted and active assessment strategies to enhance student learning. Santa Monica, CA: Goodyear.
Kemmis, S and McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer. Victoria: Deakin University.