การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

รัตติยาพร โกสุม
อัฐพล อินต๊ะเสนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงควบกล้ำ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ขึ้นไป 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ เรื่องคำควบกล้ำ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านหนองคลองใหม่หัวนาคำ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกทักษะ ที่มีค่าความเหมาะสม อยู่ระหว่าง 4.51-5.00 2) แบบวัดทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ มีค่าความเหมาะสม อยู่ระหว่าง 0.50-1.00 3) แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ที่มีค่าความเหมาะสม อยู่ระหว่าง 3.51-4.00 4)แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 3.68 5) แบบประเมินความสามารถการอ่านออกเสียง มีค่าความเหมาะสม อยู่ระหว่าง 0.50-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 พบว่านักเรียนมีทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 66.25 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีพฤติกรรมการเรียนรู้ เรื่องคำควบกล้ำ คิดเป็นร้อยละ 53.33 อยู่ในระดับพอใช้  ปัญหาสำคัญคือ นักเรียนยังไม่ค่อยให้ความสนใจในการทำกิจกรรม และมีนักเรียนที่สนใจแต่ยังไม่คุ้นชินกับวิธีการสอน และบางคนอ่านออกเสียงยังไม่คล่อง วงจรปฏิบัติการที่ 2 ผู้วิจัยได้ปรับปรุงโดยชี้แจงแนวปฏิบัติ  ให้ชัดเจน และชี้แนะสมาชิกแต่ละกลุ่มให้ช่วยสอนสมาชิกในการฝึกอ่านออกเสียงมากยิ่งขึ้น ผลการจัดการเรียนรู้ ปรากฎว่านักเรียนมีทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 76.25 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และมีพฤติกรรมการเรียนรู้ เรื่องคำควบกล้ำ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 64.18 อยู่ในระดับดี เพิ่มสูงขึ้นจากวงจรปฏิบัติการที่ 1 และวงจรปฏิบัติการที่ 3 ผลปรากฏว่านักเรียนนักเรียนมีทักษะ  การอ่านออกเสียงคำ ควบกล้ำ เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 85 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 และมีพฤติกรรมการเรียนรู้ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 88.33  อยู่ในระดับดีมาก สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2546). ผังมโนทัศน์และสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

นิภาพร โพธิราช. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุริยาสาส์น.

บุญปารถนา มาลาทอง. (2560). ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค CIRC ร่วมกับแบบฝึกการอ่านและการเขียนภาษาไทย. วารสารวิชาการ ครุศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 25.

ประพินท์ สังขา. (2564). “สภาพปัญหาและการแก้ไขการออกเสียง ร ล และค้าควบกล้ำของเยาวชนไทย, วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 6(1), 150-164.

พเยาว์ สิ่งวี. (2551). ผลการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือกลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ด้านการอ่าน จับใจความ โดยใช้เทคนิค CIRC สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน วัดดอนไก่เตี้ย สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรีเขต 1. (วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2548). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมหมาย ปวะบุตร. (2558). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการพัฒนาความเป็นครูวิชาชีพ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Muh Barid Nizarudin Wajdi. (2019). Improving the Reading Comprehension Ability by Applying the Cooperative integrated Reading and Composition (CIRC). International Journal of Mechanical Engineering and Technology, 10(3), 828-836.