การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบสุริยะของเรา ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พิมลรัตน์ พรรณวงศ์
ไพศาล วรคำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่องระบบสุริยะของเรา กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์ จำนวน 43 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง ระบบสุริยะของเรา จำนวน 5 แผน 14 ชั่วโมง มีค่าความเหมาะสม อยู่ระหว่าง 4.10-4.20 ซึ่งอยู่ในระดับเหมาะสมมาก 2) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.34-0.78 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.32-0.62 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.91 และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบสุริยะของเรา ชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.59-0.78 ค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.31-0.74 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว และแบบสองกลุ่มไม่อิสระ


            ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองมีการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ระบบสุริยะของเรา หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลกานต์ พานชาตรี. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เขมกร อนุภาพ. (2560). การใช้การเรียนรู้แบบนำตนเองเพื่อพัฒนาการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

จิราเจต วิเศษดอนหวาย. (2565). การศึกษายุคหลังโควิดจะใช้โลกทั้งใบเป็นห้องเรียน ด้วยการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed) Learning) สืบค้นเมื่อวั 2 พฤษภาคม 2567 https://www.educathai.com/knowledge/articles/535.

ไพศาล วรคำ. (2566). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 1). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

รัตตัญญู เชอสดา และลักฃณา สุกใส. (2564). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและความรับผิดชอบของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเอง. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 521-530.

ลาวัณย์ ทองมนต์. (2550). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา. (สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรี นวลผ่อง. (2553). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามทฤษฎี การสร้างความรู้ เรื่อง งานประดิษฐ์จากภูมิปัญญาไทย วิชางานประดิษฐ์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์กาศึกษา มหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2567). ผลการประเมินโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ PISA (Program for International Student Assessment). กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สุวัจนา ศรีวิเนตร. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ แบบนำตนเอง เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. 13(2), 41-52.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2552). 21 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนากระบวนการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

เสาวภา มาป้อง. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ร่วมกับผังมโนมติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถ ด้านการคิดวิเคราะห์ เรื่องโลกและการเปลี่ยนแปลงของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนครนายกวิทยาคม จังหวัดนครนายก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา มาตรา 29. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566 จาก https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Bloom, Benjamin S. (1976). Taxonomy of Education Objective. Handbook: Cognitive Domain. New York: David McKay.

Khiat, H (2017). Academic performance and The Practice of Self-Directed Leaning: The Adult Student Perspectives, Journal of Further and higher Education, 41(1), 44-49.

Knowles, Malcolm. S. (1975). Self-directed Learning. A Guide for Learners and Teachers. New York: Association Press.

Marzano, Robert J. (2001). Designing A New Taxonomy of Educational Objection California: Corwin Press, Inc.

Teo, T., Tan, S., Lee, C., Chai, C., Koh, J., Chen, W., & Cheah, H. (2010). The self-directed learning with technology scale (SDLTS) for young students: An initial development and validation. Computers & Education, 55, 1764-1771.