ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค

Main Article Content

พัลลภ กลิ่นดี
จารุกัญญา อุดานนท์
กชกร เดชะคำภู
สำราญ วิเศษ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค จำนวน 191 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน และการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้อำนวยการประเภทอำนวยการ ระดับสูง ของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค จำนวน 7 คน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค โดยรวมอยู่ในระดับมาก (equation= 4.11) 2) ปัจจัยองค์กรส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .0001 โดยด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน (β = .364, Sig = .000) ด้านนโยบายและการบริหารงาน (β = .342, Sig = .000) ด้านสวัสดิการ (β = .149, Sig = .001) ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ (β = .137, Sig = .000) และด้านความก้าวหน้าในงาน (β =  .123, Sig = .004) ได้ร้อยละ 44.20 (Adjusted R2 = .442) ส่วนอีกร้อยละ 55.80 เกิดจากอิทธิพลของตัวแปรอื่น ๆ และ 3) นโยบายและแนวทางในการเสริมสร้างความสุขในการทำงานของบุคลากรสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค โดยปรับปรุงค่าตอบแทนและสวัสดิการพื้นฐาน สนับสนุนการพัฒนาสมรรถนะและทักษะ  มีระบบการประเมินผลที่ชัดเจน ส่งเสริมการรับฟังและการสื่อสารที่ดี จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ พัฒนาเส้นทางอาชีพโดยให้โอกาส ในการเติบโตและพัฒนาให้การยอมรับจากผลงานที่ดีโดยระบบการประเมินผลที่เป็นธรรม และจัดให้มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสุขภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลธิดา ไทยสุริโย. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กฤษณา บุณโยประการ. (2560). ระดับความสุขและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากร: กรณีศึกษาโรงพยาบาลเวียงสา จังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กรมเจ้าท่า. (2566). แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566-2570. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2566 จาก https://md.go.th/about-md/2014-01-19-01-58-01/.

ธนวรรณ ตั้งเจริญกิจสกุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรการประปานครหลวง สายงานบริการ. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 4(2), เมษายน-มิถุนายน 2557.

ธญา เรืองเมธีกุล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานธนาคารกสิกรไทย ในเขตจังหวัดนครสวรรค์. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นูร์ปาซียะห์ กูนา. (2562). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี. (หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนวรรณ ตั้งเจริญกิจสกุล. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรการประปานครหลวง สายงานบริการ. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ. 4(2), เมษายน-มิถุนายน 2557.

ภณิดา บุญทวี. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของเจ้าหน้าที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 7 กรมสรรพากร. (ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มานิตตา ชาญไชย. (2554). ผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองและสังคมของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วิทยา ด่านธำรงกุล. (2546). การบริหาร. กรุงเทพฯ: เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

อรวรรณ เลิศไกร. (2561). ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช: คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครศรีธรรมราช.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2557). สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์.

Diener& Myers. (2013). Factors Predicting the Subjective Well-being of Nation. Journal of Personality and Social Psychology. pp. 851-864.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper & Row.