การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนรูปแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนรูปแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบแผนการทดลองเป็นแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและสอบหลัง (One Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 36 คน ซึ่งได้ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ที (t-test Dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดี เรื่องพระอภัยมณี ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนรูปแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยคะแนน ก่อนเรียนได้ร้อยละ 27.29 และคะแนนหลังเรียนได้ร้อยละ 81.67 มีคะแนนความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 54.38 แสดงว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนรูปแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนคิดเป็นร้อยละ 54.38 2. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนรูปแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning : PBL) โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.73, S.D.= 0.56) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับ ความคิดเห็นของนักเรียนเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย คือ ด้านประโยชน์และคุณค่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 4.10, S.D.= 0.57) รองลงมา ได้แก่ ด้านคุณภาพสาระการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก ( = 3.99, S.D.= 0.69) ด้านเนื้อหาการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง ( = 3.41, S.D.= 0.96) และลำดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านการวัดผลและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง ( = 3.40, S.D. = 0.79) ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
เกษมสันต์ พุ่มกล่ำ. (2563). การจัดการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน ในรายวิชาประวัติศาสตร์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมการสอน). ปทุมธานี: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เจษฎายุทธ ไกรกลาง. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานต่อการส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ชลธิชา หอมฟุ้ง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิชาการ ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), (พฤษภาคม-สิงหาคม 2558).
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประหยัด คำน้อย. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม. (2565). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-net) รายวิชาภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563-2565. ขอนแก่น: โรงเรียนเมืองพลพิทยาคม.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2549). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส์พับลิเคชันส์.
ศศิวิมล ภูศรีโสม. (2563). การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับหลักการการเรียนร่วมกันเพื่อพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สาริศา ชุ่มมงคล. (2552). ผลการใช้รูปแบบการสอนแบบโฟร์แมทโดยเน้นเทคนิคผังกราฟิกในการสอนวรรณคดีไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
อุษาวดี ชูกลิ่นหอม. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ5R. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 55.