การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี

Main Article Content

สรรชัย ชูชีพ
ภัสยกร เลาสวัสดิกุล

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี และ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 163 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา ที่เหมาะสมกับบริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี คือ รูปแบบ SCR-SBNOR ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ สร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างบุคลากร ระดมความคิดเห็นของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างเครือข่าย ความร่วมมือกับทั้งบุคคลหรือหน่วยงานภายนอก จัดระบบงานในการขับเคลื่อนความปลอดภัยของสถานศึกษา และการเสริมแรงและ สร้างขวัญกำลังใจ ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานเสริมสร้างความปลอดภัยของสถานศึกษา ทั้งด้านการป้องกัน การปลูกฝัง และการปราบปราม โดยมีเงื่อนไขความสำเร็จ คือ มีทีมงานที่ดี มีการประสานงานที่ดี และมีความรับผิดชอบที่ดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ

ธนัทธวัฒน์ วรวัชรบวรชัย, สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์, ปาจรีย์ นาคะประทีป, และจักษ์ จิตธรรม. (2567). การบริหารความปลอดภัยในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 10(1), 151-157.

ธีรยุทธ เมืองแมน, ญาณิศา บุญจิตร์, และมัทนียา พงศ์สุวรรณ. (2566). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(11), 251-265.

ปัญญ์ชิตา สมบัติเพิ่ม และจำเนียร พลหาญ. (2565). แนวทางการดำเนินงานสถานศึกษาปลอดภัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาฬสินธุ์. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(6), 687-708.

วชรกมล สุศรี, อรพรรณ ตู้จินดา, ดวงใจ ชนะสิทธิ์ และพงศ์เทพ จิระโร. (2567). ปัจจัยเชิงสาเหตุของการบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อการบริหารความปลอดภัยในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วาสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 18(1), 263-278.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1. (2566). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. ลพบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2. (2566). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. ลพบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุชีรา ใจหวัง, และจันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2561). การศึกษาความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 15(28), 50-61.

Bush, T. (2003). Theories of Educational Leadership and Management. London: Sage Publications.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.