โง่ศาสตร์ กฎพื้นฐานว่าด้วยความโง่เขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
Carlo M. Cipolla ผู้เขียน เป็นนักเศรษฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจชาวอิตาลี เขาเป็นศาสตราจารย์ ที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (UC Berkeley) ซึ่งเขาได้เผยแพร่ผลงานที่สำคัญหลายชิ้น เช่น “The Economic History of World Population” วิเคราะห์พัฒนาการของประชากรและผลกระทบต่อเศรษฐกิจของโลก และ “Guns, Sails and Empires” สำรวจบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการขยายอาณาจักรยุโรปในยุคอาณานิคม
สุนันทา วรรณสินธ์ เบล ผู้แปลเป็นอดีต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ กรรมการบริหารและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการปริญญาโท สาขาการแปลภาษาอังกฤษและไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันทำงานอิสระและอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ มีผลงานการแปลด้านสารคดีหลายเล่ม เช่น ศาสนา: ประวัติศาสตร์ศรัทธาแห่งมวลมนุษย์, ภาษา: ถอดรหัสมหัศจรรย์การสื่อสารของมนุษย์ และไดโนเสาร์: ประวัติศาสตร์แห่งชีวิตที่สูญหายโง่ศาสตร์ กฎพื้นฐานว่าด้วยความโง่เขลา (The Basic Laws of Human Stupidity) หนังสือเล่มนี้พยายามอธิบาย“กฎพื้นฐาน 5 ข้อของความโง่เขลา” ซึ่งผู้แต่งวิเคราะห์ความโง่ ของมนุษย์ไว้ในหลายแง่มุมของสังคม ว่าคนโง่ต่างจากคนโฉดตรงที่คนโง่คือคนที่สร้างความเสียหายแก่คนอื่นหรือกลุ่มอื่นทั้งที่ตนเองไม่ได้รับประโยชน์ ขณะที่คนโฉด จะได้รับอะไรบางอย่างจากการทำร้ายเรา คนโง่อยู่รอบตัวเรา และจะมีส่วนที่แสดงออกถึงความโง่เขลา และส่งผลกระทบต่อส่วนรวมในรูปแบบที่หลากหลายได้อย่างหน้าตาเฉย โดยสรุปใจความสำคัญของหนังสือได้ดังนี้
ทุกคนมักประเมินจำนวนคนโง่ต่ำเกินไป คนโง่มีอยู่ทุกที่และในทุกกลุ่มคนโดยไม่เกี่ยวกับการศึกษา สถานะทางสังคมหรืออาชีพคนโง่คือคนที่ทำให้คนอื่นเสียหายโดยไม่เกิดประโยชน์กับตัวเอง (หรือเสียหายด้วยซ้ำ) การกระทำที่ไร้เหตุผลและไม่สมเหตุสมผลของคนโง่มักนำไปสู่ผลกระทบเชิงลบต่อทั้งตัวเขาเองและผู้อื่นโอกาสที่ใครซักคน จะเป็นคนโง่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุคลิกลักษณะอื่นใดของเขาเลย ความโง่เขลาไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยภายนอก เช่น การศึกษา แม้แต่คนที่มีการศึกษาดีหรือมีอำนาจ ก็สามารถกระทำสิ่งโง่เขลาได้คนโง่มีพลังในการทำลายล้างสูงกว่าที่เราคาด ความโง่เขลาสร้างความเสียหายได้มากกว่าอาชญากรหรือคนที่มีเจตนาร้ายคนโง่คือภัยต่อสังคมมากกว่าคนที่ตั้งใจทำร้าย เพราะคนโง่ทำลายสมดุลและสร้างความเสียหายที่ยากจะประเมินหรือป้องกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
References
Carlo M. Cipolla. (2563). The Basic Laws of Human Stupidity. Bangkok: bookscape.