การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักภาวะผู้นำ และการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ The Development of Effective Academic Administration Model through Leadership and Teamwork

Main Article Content

ชำนาญ บุญวงศ์
กระพัน ศรีงาน
มาลิณี จุโฑปะมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย ประการแรก เพื่อศึกษาองค์ประกอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพโดยยึดหลัก
ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา ประการที่สอง สร้างและพัฒนารูปการแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพโดย
ยึดหลักภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา และประการที่สาม ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพ
โดยยึดหลักภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง
เป็นผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ จำนวน 360 คน ได้มาโดยการสุ่ม
แบบแบ่งชั้น ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและคณะครู โรงเรียนลำปลายมาศ จำนวน 52 คน ได้มาโดยการเลือก
แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารงานวิชาการ คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ
และแบบสอบถามการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย 1) สถิติการวิเคราะห์ความเหมาะสมของรูปแบบ (Model fit)
โดยใช้โปรแกรม AMOS 2) สถิติการวิเคราะห์ผลการใช้รูปแบบ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent
samples) ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา
มี 4 องค์ประกอบ คือ ด้านกระบวนการบริหารงานวิชาการ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการทำงานเป็นทีม ในสถานศึกษาและด้านการบริหาร
งานวิชาการที่มีประสิทธิภาพ
2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา มีความสอดคล้อง
กับข้อมูลเชิงประจักษ์
3. ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพโดยยึดหลักภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา พบว่า
ผลการประเมินหลังใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

This research aimed to: 1) study the components of effective academic administration model through
leadership and teamwork approach in schools, 2) formulate and develop the effectiveness of academic
administration model, and 3) study the implementation of academic administration model. The research was
conducted in two phases. The subjects of the first phase were 360 school administrators under the Office of
Secondary Education Service Area in the Northeast region, selected through stratified random sampling. The
subjects of the second phase were 52 administrators and teachers at Lamplaimat School, selected through
purposive sampling. The instruments used in this research were a questionnaire related to academic
administration model, a manual of academic administration model and a questionnaire of implementation of
academic administration model. The statistics used for analyzing data were Model Fit by AMOS program to
determine the appropriateness of the model. The statistics used for analyzing the results of the model were
mean, standard deviation and t-test (Dependent samples).
The results of the research were as follows:
1. The components of effective academic administration model through leadership and teamwork
approach in schools consisted of four aspects: academic administration process, leadership, teamwork, and
effective academic administration.
2. The effective academic administration model through leadership and teamwork approach in
schools were in accordance with the empirical information.
3. The results of the effective academic administration model through leadership and teamwork
approach in schools indicated that the score was higher after using the model and it was statistically significant
differences at a .01 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย