การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น Developing Key Performance Indicators of Secondary Students for Using Technology

Main Article Content

ธีรพงษ์ จันทรโสภณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
และประการที่สอง เพื่อกำหนดนํ้าหนักความสำคัญของตัวบ่งชี้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
โดยใช้เทคนิคเดลฟาย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ อาจารย์ระดับอุดมศึกษา ศึกษานิเทศก์และครูที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับด้าน
เทคโนโลยี จำนวน 30 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการพัฒนา
ตัวบ่งชี้ ให้ผู้เชี่ยวชาญตอบแบบสอบถาม 3 รอบ รอบแรกเป็นแบบสอบถาม กึ่งปลายเปิด รอบที่ 2 และ 3 เป็นแบบสอบถามชนิด
มาตราประมาณค่า 5 ระดับ ขั้นตอนที่ 2 เป็นการกำหนดนํ้าหนักคะแนนความสำคัญของตัวบ่งชี้ ใช้แบบสอบถามปลายปิด ขั้นตอนที่ 3
เป็นการประเมินความเหมาะสมองค์ความรู้ ใช้แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ แล้วนำผลมาวิเคราะห์โดยใช้ค่ามัธยฐาน
ค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า
1. ตัวบ่งชี้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่ามีตัวบ่งชี้ จำนวน 25 ตัวบ่งชี้ ประกอบ
ด้วยองค์ความรู้ด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ เครือข่าย คุณธรรมจริยธรรม พฤติกรรมการเรียนรู้
2. นํ้าหนักคะแนนความสำคัญของตัวบ่งชี้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่านํ้า
หนักคะแนนตั้งแต่ 6.55 ถึง 9.00 และค่าเฉลี่ยรวมของทุกตัวบ่งชี้มีค่านํ้าหนักคะแนนความสำคัญเท่ากับ 7.64

The purposes of this research were to develop key performance indicators of secondary students for using
technology, and to determine the weight of the performance indicator index for using technology of the secondary
students by the Delphi Technique. The samples consisted of 20 higher education teachers, educational supervisors
and teachers who experienced in technology. They were selected by the purposive sampling technique. The
research methodology was divided into three phases. The first phase was developing indicators. The data were
collected from the experts three times by an open-ended questionnaire and rating scale questionnaires. The
second phase was defining the weigh of key performance indicator index by using closed-ended questionnaires.
And the final phase was assessing the knowledge by using 5-point rating scale questionnaires. The data were
analyzed by median inter-quartiles and mean. The research results were as follows:1. The research findings showed that twenty five key performance indicators of secondary students
for using technology included knowledge of computer software, computer hardware, network, ethics and
learning behavior.
2. The weight of the performance indicator index of the students for using technology was about 6.55
to 9.00 and the average score of all indicators was 7.64

Article Details

บท
บทความวิจัย