The Roles of Local Administrative Organization in Promoting and Maintaining Tourist Attractions as Sustainable Tourist Sources: A Case Study of Kutchomphu Subdistric Administrative Organization in Phiboonmangsahan District of Ubon Ratchathani Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดชมภูในการพัฒนาและดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยว
ซึ่งเน้นการศึกษาในแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติทั้ง 7 แห่ง ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวหินนางแกะ แก่งไก่เขี่ย แก่งไฮ หาดหินบ้านหินลาด
หาดบ้านดอน เกาะดอนคำพวงและหาดหินโด่ โดยอาศัยกระบวนการ SWOT analysis ในการวิเคราะห์เพื่อหา จุดอ่อน โอกาสและ
อุปสรรคของบทบาทดังกล่าว ทั้งนี้ ได้นำกระบวนการ TOWS matrix มาวิเคราะห์เพื่อการสร้างกลยุทธ์ และได้แสดง ถึงประโยชน์
ที่คาดว่าจะได้รับจากกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าวด้วย ผลการวิจัยพบว่า
บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดชมภูในการสนับสนุนและดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยว ถูกกำหนดขึ้นจากแนวคิดบทบาท
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและแนวคิดการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งเมื่อได้ทราบบทบาทดังกล่าวแล้ว
ได้ทำการวิเคราะห์ SWOT analysis เพื่อนำจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ของบทบาทดังกล่าวมาวิเคราะห์ในกระบวนการ
TOWS matrix ตามแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชน
กลยุทธ์สำคัญที่ส่งเสริมบทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกุดชมภูในการสนับสนุนและดูแลรักษาแหล่งท่องเที่ยว ประกอบ
ด้วย กลยุทธ์ที่ 1 คือ กลยุทธ์ด้านงบประมาณเพื่อการส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ส่วนกลยุทธ์ที่ 2 คือ กลยุทธ์ด้านการ
ประสาน ความร่วมมือกับชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ ร่วมกับ กลยุทธ์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ทั้งนี้
ประโยชน์ที่ คาดหมายว่าจะได้รับจากกลยุทธ์ดังกล่าวนั้น ได้สะท้อนถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ มิติด้านเศรษฐกิจสังคม การเมือง วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
This research aimed to present the roles of Kutchomphu subdistric administrative organization in
promoting and maintaining tourist attractions with case studies of the following seven natural tourist attractions:
Hinnagkae, Kangkaikhia, Kanghai, Hadhinbanhinlad, Hadbandon, Kohdonkumphuang and Hadhindo. SWOT
analysis was conducted to study the weaknesses, opportunities and threats found in performing the role. A
TOWS matrix was used to form the strategies and determine the expected benefits of the proposed strategies.
Findings of the study revealed that the roles of Kutchomphu Subdistrict Administrative Organization in developing
and maintaining the tourist attractions were first determined by considering the roles of the local administrative
organization regarding tourism development and the idea of community-based tourism. The researcher then
used SWOT analysis to analyze strengths, weaknesses, opportunities and threats in performing the roles and
applied the TOWS matrix to analyze the collected data based on community participation guidelines.
Two strategies were proposed for promoting and maintaining tourist attractions : Strategy I was
budgeting to promote or support sustainable tourism development, and Strategy II was cooperating and
networking with the local community and other local administrative organizations, together with communitybased
tourism promotion. The expected benefits to be gained by using the proposed strategies can be
reflected in five dimensions of sustainable development: economic, social, political, cultural and environmental.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา