ความพึงพอใจที่มีต่อการนำภาพยนตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาการเขียนเชิงกลยุทธ์เพื่อ การประชาสัมพันธ์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ Satisfaction towards Film Applied to Teaching of Academic Writing Strategies for Public Rela
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการนำภาพยนตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาการเขียน
เชิงกลยุทธ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยแบ่งการวัดความพึงพอใจ 2 ด้าน ได้แก่ เนื้อหาของภาพยนตร์ และ
กิจกรรมการเรียนรู้โดยการเปิดภาพยนตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพที่ลงทะเบียน
เรียนวิชาการเขียนเชิงกลยุทธ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 63 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่าง
แบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ภาพยนตร์เรื่อง “เดอะ ควีน ราชินีหัวใจโลกจารึก” และแบบสอบถามวัดความพึงพอใจ
ที่มีต่อการนำภาพยนตร์มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนวิชาการเขียนเชิงกลยุทธ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่า
เฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 46 คน คิดเป็นร้อยละ 73 มีระดับเกรดเฉลี่ยสะสม 2.01-2.50
มากที่สุด จำนวน 27 คน คิดเป็นร้อยละ 42.9
2. ความพึงพอใจด้านเนื้อหาของภาพยนตร์ 3 อันดับแรก พบว่า เนื้อหาของภาพยนตร์มีความน่าสนใจ ชวนให้ติดตามรับชม
มากที่สุด รองลงมา คือ เนื้อหาของภาพยนตร์มีความเหมาะสมกับวิชาที่เรียน และเนื้อหาของภาพยนตร์ทำให้นักศึกษาได้ฝึกฝน
กระบวนการคิดและวิเคราะห์ เป็นอันดับที่สาม สรุปผลรวม มีความพึงพอใจในระดับมาก
3. ความพึงพอใจด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการเปิดภาพยนตร์ 3 อันดับแรก พบว่า 3 กิจกรรมการเปิดภาพยนตร์
ประกอบการสอนสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้ มากที่สุด รองลงมา คือ กิจกรรมสามารถส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการ
คิดวิเคราะห์ได้ และกิจกรรมช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี เป็นอันดับที่สาม สรุปผลรวม มีความพึงพอใจในระดับมาก
The objectives of this research were to study the level of satisfaction with the film applied in teaching
on academic writing strategies for public relations. The survey methods that were applied for this research
were 2 aspects: the movie contents and the learning activities by watching movies. Subjects used in the
research were 63 second year students, Faculty of Communication arts, Bangkok University selected through accidental random sampling. The students enrolled in writing strategies for public relations in the second
semester of academic year 2012 at the Bangkok University, Faculty of Communication Arts. The instruments
used in the research consisted of the film entitled : The Queen Consort World Heart Inscription” and a
questionnaire related to the students’ satisfaction. The statistics used for analyzing data were percentage,
means, and standard deviation. The results revealed that:
1. Most of the respondents by 46 students (73 %) were female. They had got GPA from 2.01 to 2.50
by 27 students (42.9%).
2. The students’ satisfaction with movie contents showed differences from high to low: the interesting
content of the film, the contents in accordance with the subject and analytical thinking process respectively.
The students were rated at a high level as a whole.
3. The students’ satisfaction with the learning activities by watching the film showed differences from
high to low: enhance learning skills, support students to develop their analytical thinking, and create a better
learning environment. The students were rated at a high level as a whole.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา