นวัตกรรมและความรู้ความเข้าใจในการจัดทำผลงานทางวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเพื่อ เลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาฬสินธุ์ เขต 2 Innovation and Understanding in Conducting Academic Research in Th
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาประเภทของนวัตกรรม ระดับชั้น และเนื้อหาสาระในผลงานทางวิชาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ประการที่สอง วิเคราะห์คุณภาพผลงานทางวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และประการที่สาม
ศึกษาความรคู้ วามเขา้ ใจในการจัดทำผลงานทางวิชาการกลมุ่ สาระการเรียนรภู้ าษาไทยเพื่อเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ ของขา้ ราชการ
ครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ซึ่งเก็บข้อมูลจากผลงานที่จัดทำ ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - 2554
ที่ผ่านการประเมิน จำนวน 128 เรื่อง และครูผู้สอนที่เป็นเจ้าของผลงาน จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบ
บันทึกคุณลักษณะผลงานทางวิชาการ แบบประเมินคุณภาพผลงานทางวิชาการ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจในการจัดทำผลงานทาง
วิชาการ และแบบสัมภาษณ์ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำผลงานทางวิชาการแบบมี โครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน และ
การวิเคราะห์ เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลเบื้องต้นของผลงานทางวิชาการ ผู้จัดทำผลงานทางวิชาการส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง วุฒิปริญญาตรี จบการศึกษาสาขา
การประถมศึกษามากที่สุด วัตถุประสงค์ในการจัดทำผลงานทางวิชาการเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียน
สมมุติฐานการวิจัยเป็นแบบมีทิศทาง การเลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการเลือกแบบไม่อาศัย ความน่าจะเป็น โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่อง
มือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และแบบวัดความพึงพอใจ การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยการ
หาค่าความเที่ยงตรง ค่าความเชื่อมั่น ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมโดยการหาค่า E1 / E2 สถิติ
ที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมุติฐาน คือ t-test วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลคือการ
ทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบก่อนเรียน
- หลังเรียน การนำเสนอข้อมูลโดยการนำเสนอเป็นตารางและการบรรยาย
2. ผลการวิเคราะห์ประเภทของนวัตกรรม ระดับชั้น และเนื้อหาสาระในผลงานทางวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
พบว่าประเภทนวัตกรรมที่ศึกษามากที่สุดคือ นวัตกรรมประเภทสื่อสิงพิมพ์ จำนวน 97 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 75.78 โดยเป็นแบบฝึก
เสริมทักษะ จำนวน 73 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 57.03 ระดับชั้นที่ศึกษามากที่สุดคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 3 จำนวน 23 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 17.97 สาระที่ศึกษามากที่สุดคือ สาระการอ่านและการเขียน จำนวน 55 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 42.97
3. ผลการวิเคราะห์คุณภาพผลงานทางวิชาการ พบว่า โดยภาพรวม ผลงานทางวิชาการมีคุณภาพอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
3.73
4. ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจในการจัดทำผลงานทางวิชาการของครูชำนาญการพิเศษ พบว่าอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ โดย
มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 57.70
5. ผลการสัมภาษณ์ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำผลงานทางวิชาการของครูชำนาญการพิเศษโดยภาพรวม พบว่า ครูส่วนใหญ่
ยังขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดทำผลงานทางวิชาการ
This research aimed to: firstly, investigate the kind of innovation, class levels and academic content in
Thai language strand, secondly, analyze academic works quality in Thai language strand and thirdly, investigate
the understanding in conducting academic research in Thai language strand to promote academic status
government specialist teachers under Office of Kalasin Primary Education Service Area 2 during 2009-2011 of
the academic years. The subjects consisted of 128 titles of assessed academic research and 128 teachers
who produced the academic works. The tools employed for this study were academic research features form,
academic works quality assessment form, knowledge and understanding test in conducting academic research
form, and knowledge and understanding in conducting academic research structured interview form. The
collected data were analyzed by basic statistics and qualitative analysis.
The results of the research were as follows:
1. The general data of academic research: most teachers who conducted academic research were
female, graduated Bachelor’s Degree in elementary educational program. The purposes of conducting academic
research were to improve students’ achievement and their satisfaction. Research hypothesis was directional
hypothesis. The samples were selected through purposive sampling. The tools employed for this research were
an achievement test and a satisfaction questionnaire. The quality testing of research tools were completed by
using E1/E2 to analyzed validity, reliability, discrimination and difficulty index. The statistics used for analyzing
the collected data were mean, percentage, and standard deviation; and the t-test (independent samples) was
used for hypotheses testing. The data were collected by using pre-test and post-test methods. The data were
analyzed by using mean, percentage, standard deviation, comparison between pre-test and post-test score.
The results of data were shown as tables and description.
2. The analysis result of innovation kind, class levels and academic works content revealed that the
innovation kind they studied most was 97 titles of printed media (75.78 %) which included 73 titles of skill exercise
(57.03%), the class levels they studied most were 23 titles of Prathom Suksa 1 and 3 (17.97%) and the contents
they studied most were 55 titles of reading and writing (42.97%).
3. The analysis result of academic research quality revealed that the works had quality at good level
4. The analysis result of knowledge and understanding assessment in conducting academic research
revealed that they had knowledge and understanding at pass level (57.70%).
5. The analysis result of knowledge and understanding in conducting academic research structured
interview revealed that most teachers lack of knowledge and understanding about the process of conducting
academic works.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา