สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในกลุ่ม จังหวัดร้อยเอ็ด-ขอนแก่น-มหาสารคาม-กาฬสินธุ์ Performance Competencies Staff Members Department of Skill Development in Roi Ed, Khonkaen, Maha Sarakham and Kalasin Provinces

Main Article Content

ชญานิษฐ์ แสงทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ประการที่สอง เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะ
ในการปฏิบัติงานจำแนกตามอายุและหน่วยงานที่สังกัด และประการที่สาม เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรม
พัฒนาฝีมือแรงงานในกลุ่มจังหวัดร้อยเอ็ด-ขอนแก่น-มหาสารคาม-กาฬสินธุ์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรกรมพัฒนาฝีมือ
แรงงานในกลุ่มจังหวัดร้อยเอ็ด-ขอนแก่น-มหาสารคาม-กาฬสินธุ์ จำนวน 101 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และการสุ่มตัวอย่าง
แบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 แล้ววิเคราะห์
ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ
สมมติฐานโดยใช้ F-test (One-way ANOVA) โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในกลุ่มจังหวัดร้อยเอ็ด-ขอนแก่น-มหาสารคาม-กาฬสินธุ์
โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในกลุ่มจังหวัดร้อยเอ็ด-ขอนแก่น-
มหาสารคาม-กาฬสินธุ์ โดยภาพรวม พบว่า มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 และระหว่างหน่วยงานที่
สังกัด โดยภาพรวม พบว่า มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05 1 ด้าน คือ ด้านการบริการที่ดี
3. ขอ้ เสนอแนะสมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมพัฒนาฝมี ือแรงงานในกลมุ่ จังหวัดรอ้ ยเอ็ด-ขอนแกน่ -มหาสารคาม-
กาฬสินธุ์ ได้แก่ บุคลากรควรปฏิบัติงานโดยมุ่งความต้องการของประชาชนอย่างมีเหตุมีผลเป็นสำคัญ มีการพัฒนาองค์กรโดยเริ่มต้น
พัฒนาที่ตัวบุคลากร ทั้งด้านวัฒนธรรม เทคโนโลยี องค์ความรู้ที่เหมาะสมให้แก่บุคลากร มีระบบการจัดเก็บความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติ
งาน ตามความก้าวหน้าในอาชีพ มีการระบุชัดเจนว่าคุณสมบัติของผู้จะเลื่อนตำแหน่งต้องสั่งสมความเชี่ยวชาญอะไรบ้าง ทำงานโดย
ยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพและวินัยอย่างเคร่งครัดควรปลูกจิตสำนึกด้านการทำงานเป็นทีมให้แก่บุคลากรในหน่วยงานใช้หลักการมีส่วนร่วมภายในทีมงาน

This research aimed to survey and compare performance competency levels of staff members of the
Department of Skill Development in Roi Ed, Khonkaen, Mahasarakham and Kalasin Provinces classified by gender
and workplace, and to find some useful suggestions for job performance. The samples were one hundred and
one staff members of the Department of Skill Development in Roi Ed, Khonkaen, Mahasarakham and Kalasin
provinces. They were selected by stratified random sampling and simple random sampling techniques. The
instrument was a rating-scale-questionnaire with .97 reliability value. The statistics used were frequency, percentage,
mean, standard deviation and F-Test (One-way-ANOVA) with the .05 level of statistical significance.
The research results were as follows:
1. The finding showed that the average level of the performance competencies of staff members of the
Department of Skill Development in Roi Ed, Khonkaen, Mahasarakham and Kalasin provinces was very high.
2. The finding indicated that the performance competencies of the government officers of the Department
of Skill Development in Roi Ed, Khonkaen, Mahasarakham and Kalasin Provinces regarding age and workplace
were not significantly different at the .05 level. However, the performance competency of the members in
providing good service regarding the workplace was significantly different at the .05 level.
3. In regard to the suggestions, they are concluded that the staff members should work properly based on
needs of people in organization. The organizational development should begin with human resource development
focusing on culture, technology and knowledge. There should be a storage system of job, professional advance
and achievement, clear qualities of the excellent staff, professional ethnic based performance, and professional
discipline based performance. Staff members should be really aware of team work skills.

Article Details

บท
บทความวิจัย