การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม The Study of Motivation on Teachers Performance in Schools under Maha Sarakham Provincial Administration Organization

Main Article Content

สุวนีย์ ฤทธิ์ถาพรม

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน
สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม และประการที่สอง เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจ จำแนกตาม
ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานและเงินเดือน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม
จาก 20 โรงเรียน จำนวน 214 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .96
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่า ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ (t-test
Independent samples) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมาก
ไปน้อย เมื่อจำแนกรายด้านพบว่าด้านความต้องการความสำเร็จ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้าน การยอมรับนับถือ ตามลำดับ
2. ผลการการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคามที่มีระดับ
การศึกษาและเงินเดือนแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05 และพบว่าครูที่มี
ประสบการณ์ทำงานแตกต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง 10 คน เกี่ยวกับข้อเสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างแรงจูงใจในการ
ปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ข้อเสนแนะผู้บริหารควรมีการมอบหมายงานให้ตรงกับความ
รู้ความสามารถควรมีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานและให้ข้อเสนอแนะที่ดีระหว่างปฏิบัติงาน เมื่อผู้ปฏิบัติงานทำงานสำเร็จควร
ให้การยกย่องประชาสัมพันธ์ให้เป็นแบบอย่างที่ดีหรือให้รางวัลอาจเป็นการร่วมพบปะสังสรรค์ ระหว่างเพื่อนร่วมงาน และให้ความเป็นกันเองกับครู

The purposes of this research were to study and compare the level of motivation on teachers performance
in schools under Maha Sarakham Provincial Administration Organization and to study the guidelines for motivational
enhancement. These teachers were classified according to their educational levels, work experience and salary.
Subjects used in the research consisted of 214 teachers in 20 schools under Maha Sarakham Provincial
Administration Organization, selected through stratified random sampling. The instruments used in the research
were 40 items of a five-level rating scale questionnaire with .96 of reliability. The statistics used in the research
were percentage, mean, standard deviation, t-test, One-way-ANOVA , and content analysis.
The results of the research were as follows:
1. The overall of motivation for the performance of teachers was rated at a high level. When considered
as individual aspects,
the rates from high to low were as follows: the need for success, interpersonal relationship and recognition
respectively.
2. The comparison revealed that the motivation for teachers’ performance according to educational
level and salary was not
significantly different. However, those who had different experiences were significantly different at .05 level.
3. The results of analysis from content obtained from ten interviewees related to the guidelines for
motivation enhancement were as follows: The
school administrators should put the right man on the right job according to their knowledge and ability.;
There should be a followed-up evaluation and productive suggestions during work operation. The goodperformanced
teachers should be publically praised or rewarded and announced as a good model for other
teachers. It might be an informal meeting among the colleagues. The administrators should be friendly and get on well with all teachers.

Article Details

บท
บทความวิจัย