การพัฒนากรอบแนวคิดของการคิดเชิงสถิติ The Development of Statistical Thinking Framework
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดของการคิดเชิงสถิติของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ
มหาสารคาม และประการที่สอง เพื่อศึกษาลักษณะการคิดเชิงสถิติของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างได้มา
จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ตามระดับชั้นเรียน ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ที่ลงทะเบียน
เรียนวิชาหลักสถิติ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 27 คน ดังนี้ ชั้นภูมิที่ 1 คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 9 คน ชั้นภูมิที่
2 คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 9 คน ชั้นภูมิที่ 3 คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1. แบบวัดการ
คิดเชิงสถิติ โดยมีลักษณะเป็นแบบอัตนัย จำนวน 3 ข้อ 2. แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์
ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โปรโตคอล (Protocal analysis) จากแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์งานเขียน (Task analysis)
และการบรรยายเชิงวิเคราะห์ (Analytic description) จากแบบวัดการคิดเชิงสถิติ ผลการวิจัยพบว่า
1. กรอบแนวคิดของการคิดเชิงสถิติ
กรอบแนวคิดของการคิดเชิงสถิติ ซึ่งประกอบด้วย กระบวนการที่ 1 กระบวนการวางแผน (Process of planning)
กระบวนการที่ 2 กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล (Process of collecting data) กระบวนการที่ 3 กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล (Process
of analyzing data) กระบวนการที่ 4 กระบวนการนำเสนอข้อมูล (Process of presentation data) และกระบวนการที่ 5 กระบวนการ
สรุปผล (Process of summary)
2. ลักษณะการคิดเชิงสถิติของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
กระบวนการที่ 1 กระบวนการวางแผน โดยภาพรวมนักศึกษามีลักษณะการคิดเชิงสถิติระดับที่ 3 เป็นส่วนใหญ่
คิดเป็นร้อยละ 51.6 รองลงมานักศึกษามีลักษณะการคิดเชิงสถิติระดับที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 23.7
กระบวนการที่ 2 กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยภาพรวมนักศึกษามีลักษณะการคิดเชิงสถิติระดับที่ 1 เป็นส่วนใหญ่
คิดเป็นร้อยละ 54.8 รองลงมานักศึกษามีลักษณะการคิดเชิงสถิติระดับที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 27.9 กระบวนการที่ 3 กระบวนการวิเคราะห์
ข้อมูล กระบวนการย่อย 1 : คุณภาพของข้อมูล กระบวนการย่อย 2 : ความเหมาะสมของเทคนิคสถิติที่นำมาใช้ กระบวนการย่อย
3 : ความเหมาะสมกับลักษณะของข้อมูล (เป็นไปตามข้อตกลงเบื้องต้น) โดยภาพรวมนักศึกษามีลักษณะการคิดเชิงสถิติระดับที่ 2 เป็น
ส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 32.9 รองลงมานักศึกษามีลักษณะการคิดเชิงสถิติระดับที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 32.1
กระบวนการที่ 3 กระบวนการวิเคราะห์ข้อมูล กระบวนการย่อย 4 : ความถูกต้องตามหลักวิธีการคำนวณของเทคนิคนั้น
ๆ กระบวนการที่ 4 กระบวนการนำเสนอข้อมูล และ กระบวนการที่ 5 กระบวนการสรุปผล โดยภาพรวมนักศึกษามีลักษณะการคิดเชิง
สถิติระดับที่ 3 เป็นส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 30.9 รองลงมานักศึกษามีลักษณะการคิดเชิงสถิติระดับที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 29.6
The objectives of this study were to : 1) develop statistical thinking framework of Rajabhat Mahasarakham
University students, and 2) study statistcal thinking characteristics of Rajabhat Mahasarakham University
students. The samples consisted of 27 Rajabhat Mahan Sarakham University students who enrolled the course
of Principle of Statistics in the second semester in academic year 2012, obtained through the stratified random
sampling technique: 9 first year students, 9 second year students, and 9 third year students. The instruments used
for data collection were the subjective statistical thinking test comprising 3 sections, and the semi-structured
interview form used for in-depth interview. The method of data analyses were protocol analysis of a |semistructured
interview, task analysis and analytic description from the statistical thinking test.
The results were as follows:
1. The statistical thinking framework of Rajabhat Maha Sarakham University students
The statistical thinking framework comprised process of planning, process of collecting data, process
of analyzing data, process of presenting data, and process of summarizing data.
2. The statistical thinking characteristics of Rajabhat Maha Sarakham University students
The first process is the process of planning data. The students showed statistical thinking characteristics, as
a whole, mostly at the 3rd level which accounted for 51.6 percent, and at the 4th level which accounted for
23.7 percent.
The second process is the process of collecting data. The students showed statistical thinking
characteristics, as a whole, mostly at the 1st level which accounted for 54.8 percent, and at the 2nd level which
accounted for 27.9 percent.
The third process is the process of analyzing data: sub-process 1 is data quality, sub-process 2
is appropriateness of statistical techniques, sub-process 3 is appropriateness of data characteristics which
was in the statistical assumptions. The students showed statistical thinking characteristics, as a whole, mostly
at the 2nd level which accounted for 32.9 percent, and at the 4th level which accounted for 32.1 percent.
The third process is process of analyzing data: sub-process 4 is accuracy of calculation each
method.
The fourth process is process of presenting data, and the fifth process is summarizing data. The students
showed statistical thinking characteristics, as a whole, mostly at the 3rd level which accounted for 30.9 percent,
and at the 2nd level which accounted for 29.6 percent.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา