คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม Quality of Life into Work of Tambon Municipality Officers at Kaedam District, Maha Sarakham Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรก ศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอแกดำ
จังหวัดมหาสารคาม ประการที่สอง เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาลที่มีต้นสังกัด และตำแหน่ง แตกต่างกัน
และประการที่สาม ศึกษาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานเทศบาล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
คือ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานจ้างของเทศบาลตำบลในเขตจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1,047 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ
ศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอแกดำ จำนวน 107 คน ได้แก่ พนักงานเทศบาลตำบลแกดำ จำนวน 70 คน
และพนักงานเทศบาลตำบลมิตรภาพ จำนวน 37 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ
สมมติฐานโดยการใช้สถิติ t-test (Independent samples) และ F-test (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า
1. พนักงานเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม มีคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพจิ ารณาเปน็ รายดา้ นพบวา่ อยใู่ นระดับมาก 6 ดา้ น อยใู่ นระดบั ปานกลาง 2 ดา้ น เรยี งลำดบั คา่ เฉลี่ยจากมากไป หานอ้ ย อยใู่ นระดับ
มาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ ประโยชน์และความรับผิดชอบต่อสังคม ความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว และประชาธิปไตยใน
หน่วยงาน
2. พนักงานเทศบาลที่มีต้นสังกัดแตกต่างกัน มีความคิดเห็นว่าคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน
ยกเว้นด้านสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขลักษณะและปลอดภัย และด้านประโยชน์และความรับผิดชอบต่อสังคม ความคิดเห็นของพนักงาน
เทศบาลตำบลแกดำมีค่าเฉลี่ยมากกว่าพนักงานเทศบาลตำบลมิตรภาพ ส่วนด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ ความคิดเห็นของ
พนักงานเทศบาลตำบลมิตรภาพมีค่าเฉลี่ยมากกว่าพนักงานเทศบาลตำบลแกดำ ที่ระดับนัยสำคัญ .05
3. พนักงานเทศบาลตำบลในเขตพื้นที่อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ที่มีตำแหน่งแตกต่างกัน มีความคิดเห็นว่าคุณภาพชีวิต
ในการทำงาน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ด้านค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอ ด้านสิ่งแวดล้อม ที่ถูกสุขลักษณะ
และปลอดภัย ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในการทำงาน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .05
This research aims to 1) study the quality of life into work of Tambon municipality officers at Kaedam
district, Maha Sarakham province, 2) compare the quality of life into work of the officers with different job
affiliations and positions, and 3) examine suggestions of the development of quality of life into work of the officers.
The population used in this study consisted of 1,047 governments officers and permanent employees
of municipalities in Maha Sarakham province. The sample consisted of 70 officers of the Tambon Kaedam
municipality and 37 officers of Tambon Mittraphap municipality, obtained through the purposive sampling
technique. The research instrument used for data collection was a questionnaire with the reliability of 0.96.
The statistics used for data analyses were percentage, mean, and standard deviation. Independent t-test
and F-test were used for testing hypothesis.
The results were as follows:
1. The quality of life into work of the Tambon municipality officers in Kaedam district, as a whole, was
at a high level. When any aspects were considered, six aspects were found at a high level, and two at a
moderate level. The first three aspects ranging from the highest to the lowest mean scores were usefulness
and social responsibility, the balance of work and personal life, and democracy in workplace, respectively.
2. The opinions towards the quality of life into work of the officers with different job affiliations, as a
whole and in aspect, were not significantly different, except the aspect of safe and sanitary environment, and
the aspect of usefulness and social and responsibility which Tambon Kaedam municipality officers’ opinions
towards the quality of life into work were higher than those of Tambon Mittraphap municipality. In aspect of
adequate and fair compensation, Tambon Mittraphap municipality officers’ opinions towards the quality of life
into work were higher than those of Tambon Kaedam municipality at the .05 level of significance.
3. The opinions towards the quality of life into work of the officers with different job positions, as a whole
and in aspect, were not significantly different, except the aspects of adequate and fair compensation, safe
and sanitary environment, human capacities and progress of work which the opinions of the officers towards
the quality of life into work were different at the .05 level of significance.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา