การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเทคนิคการสอนวิชาโครงการ Development of a Training Program on Techniques of Teaching Work Projects
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเทคนิคการสอนวิชาโครงการ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือครูผู้สอนวิชาโครงการระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สังกัดวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จำนวน 4 คน วิทยาลัยการอาชีพจำนวน 3 คน และวิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด จำนวน 3 คน รวมทั้งสิ้น 10 คน การดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ หลักสูตรการฝึกอบรมเทคนิคการสอนวิชาโครงการ และระดมสมองโดยวิธีการของ KJ-Method เพื่อให้ได้หัวข้อเรื่องในการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม ออกแบบพัฒนาเครื่องมือและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรม นำไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างและนำผลการวิจัยที่ได้ไปประเมินหลักสูตรตามแบบจำลองซิป (CIPP Model) ของ แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม (Daniel L. Stufflebeam) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินสภาวะแวดล้อม เป็นการรวบรวมความต้องการของครูผู้สอนวิชาโครงการ เพื่อพัฒนาหลักสูตร
การฝึกอบรมเทคนิคการสอนวิชาโครงการ เนื้อหาของหลักสูตรประกอบด้วย 12 หัวข้อเรื่อง ระยะเวลาของการฝึกอบรมหลักสูตร
ที่เหมาะสม คือ 5 วันทำการ จำนวน 10 คน/รุ่น
2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้น โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องระหว่างหัวข้อฝึกอบรมกับวัตถุประสงค์
เชิงพฤติกรรมและระหว่างวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมกับแบบทดสอบพบว่าค่าดัชนีความสอดคล้องสูงเท่ากับ .97 และ.99 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ มีค่าความเชื่อมั่น .88 สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรการฝึกอบรม
ในขั้นตอนการทดลองใช้กับกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.96/88.24
3. การประเมินกระบวนการ พบว่า ประสิทธิภาพของหลักสูตรการฝึกอบรมในขั้นตอนการนำหลักสูตรไปฝึกอบรมกับกลุ่มตัวอย่างมีค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.64/87.06 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 80/80
4. การประเมินผลผลิต พบว่าผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจครูผู้สอนวิชาโครงการทั้งภาคทฤษฎีอยู่ในระดับดีเลิศและการสอนภาคปฏิบัติอยู่ในระดับดี และผลคะแนนสัมฤทธิ์ของนักศึกษา มีค่ามากกว่าร้อยละ 75 ขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
This research aimed to develop a training program on techniques of teaching work projects. Subjects for this study were 10 instructors teaching a course on work projects at the higher certificate of technical education level: 4 from Roi-Et Technical College, 3 from Roi-Et Polytechnic College, and 3 from
Roi-Et Vocational College. The instruments used in this research and development study was a training program on techniques for teaching work projects. Relevant contents for this training program were acquired through the KJ-Method of Brainstorming, for determining efficiency of the instrument to be used with the sample group in collecting data. The results were used to evaluate the program based on the CIPP Model of Daniel L. Stufflebeam. The statistics used in this study were frequency, percentage, mean, and standard deviation. Findings of the study are summarized as follow:
1) Context evaluation for this study was for collecting data and information for determining program needs and developing the training program on techniques for teaching work projects, both theoretical and practical knowledge of 12 topics. The appropriate length of this training program was 5 days, and it was used to train 10 instructors per class.
2) Input evaluation for the study was determined by the experts in order to determine the congruence between content syllabus and training objectives, and the congruence between behavioral objectives and the achievement test of theoretical knowledge. Results showed that the congruence indexes of both evaluations were found at the high level, .97 and .99, respectively and the reliability of the achievement test was .88. The efficiency of training program after the tryout with the experimental group was 84.96/88.24.
3) Process evaluation revealed that the efficiency index of this training program at the implementation stage was 84.64/87.06, which was higher than the established criterion of 80/80.
4) Product evaluation indicated that supervisors were satisfied with the trainees, who were instructors of the work project course; their theoretical concepts and their actual teaching were very high and high, respectively; and the students' learning achievement was higher than 75%, which was congruent with the established research hypothesis.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา