ยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ Local Youth Historical Research For Students Based Learning Reform.

Main Article Content

สมบัติ ฤทธิเดช
ประสพสุข ฤทธิเดช

บทคัดย่อ

โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนเป็นสำคัญ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับนักเรียนและครูที่ปรึกษาที่ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม ใช้วิธีการศึกษาเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมผสมผสานกับวิธีการประวัติศาสตร์บอกเล่า กลุ่มเป้าหมายนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาเพศชายและเพศหญิง ผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชน ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและทีมประสานงานโครงการระดับจังหวัด โดยศูนย์เบิ่งแงงลูกหลานชาวอีสาน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม พื้นที่วิจัยโรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1-3 นำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

            การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น พบว่า เกิดจากผู้ประสานงานระดับจังหวัด ได้ประชาสัมพันธ์โครงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับครูที่ปรึกษาและทีมยุววิจัย จากโรงเรียนมัธยมศึกษาและโรงเรียนประถมศึกษาขยายโอกาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1-3 ได้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการโดยความสมัครใจ จำนวน 20 โรงเรียน 40 โครงการ ยุววิจัย 100 คน และครูที่ปรึกษา 55 คน และกิจกรรมการเรียนรู้มีสี่รูปแบบ ได้แก่ การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง มีความสุข แบบร่วมมือ และการเรียนรู้แบบพึ่งตนเอง

            ผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากยุววิจัยและครูที่ปรึกษาได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ครูที่ปรึกษาเข้าใจกระบวนการวิจัย ช่วยให้ยุววิจัยตั้งคำถามวิจัย สามารถหาคำตอบได้ ทำให้มีความภูมิใจในท้องถิ่นตนเองและเกิดความสัมพันธ์กับคนในชุมชน

Local youth historical research for students based learning reform project. The objective of the research project was to develop a management of learning activities on local history and the changes reflecting students and teacher - advisors from the learning activities historical in Maha Sarakham. Approach the research for participation action research. The targets were secondary school students, the elderly people, folk enpents in local history, and the provincial project Co.ordinators under the Isan youth watch center, the study areas were secondary and entended primary school in the educational regions 1, 2 and 3 the research firdings Were as follows :

              The development of the management of local history learning activities project using participation learning activities came about by the initiation of the Maha Sarakham provincial co-ordingtors who publicized the research project and later arranged for a workshop on development of research form 20 secondary and primary schools in Maha Sarakham Educational Regions 1, 2 and 3 Forty sub-projects were carried out under this project. The advisors and the youth local had reform of the student based learning which had 4 learning modles : learning form real enperiences, self-help learning, be-happy learning, and co-operative learning.

              The changes reflecting students and teacher-advisors from the learning activities historical with a clear understanding of local history research, most teacher-advisors could verywell apply their enperiences in their own teaching responsibilities as well as guiding their students froming research questions. The students them selves, on the other loud, were proud of their own community and come to interact with people who lived in the soume community.

Article Details

บท
บทความวิชาการ