แนวทางการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม The Guidelines for Personnel Administration of Teacher Officials and Educational Personnel under MahaSarakham Provincial Administration Oganization
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต่อแนวทาง
การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และเพื่อเสนอแนวทางในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 343 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมาเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีความคิดเห็นต่อแนวทางการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
มีความคิดเห็นต่อแนวทางการบริหารงานบุคคล โดยรวมแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเสนอแนวทางการบริหารงานบุคคลที่สำคัญ
คือ การกำหนดจำนวนตำแหน่งและอัตราตำแหน่งควรให้เป็นไปตามความต้องการของโรงเรียน การสรรหาและการคัดเลือก
การสอบต้องให้มีการกลั่นกรองมีความน่าเชื่อถือ ควรมีการบรรจุและการแต่งตั้งตำแหน่งที่ขาดและตรงกับวิชาเอกตามที่โรงเรียนแจ้งไว้ การพ้นจากตำแหน่งควรมีความโปร่งใสตรวจสอบได้ การเลื่อนระดับ สถานศึกษาควรตั้งคณะกรรมการขึ้นมารับผิดชอบ ภายใต้หลักเกณฑ์ของระเบียบที่ปฏิบัติ และมีเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน การเลื่อนขั้นเงินเดือน ควรให้ผู้บริหารและโรงเรียนแต่งตั้งกรรมการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนด้วยความโปร่งใส วินัยและการรักษาวินัย ควรส่งเสริมและพัฒนาให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีระเบียบวินัยให้ปฏิบัติตามระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด
The purpose of this research were to examine levels of opinions of teacher officials and educational personnel involving the guidelines for personnel administration of teacher officials and educational personnel , to compare levels of opinions of teacher officials and educational personnel , and to suggest guidelines for personnel administration of teacher officials and educational personnel under Maha Sarakham Provincial Administration Organization. The samples consisted of 343 educational institution administrators, educational institution associate administrators, teacher officials and educational personnel performing their function at schools under Maha Sarakham Provincial Administration Organization. The instrument used for collecting data was a questionnaire with a reliability of .98. The statistics used for analyzing the collected data were frequency, percentage, mean, and standard deviation.
The results of the research revealed that the teacher officials and educational personnel had overall opinions involving the guidelines for personnel administration of teacher officials and educational personnel under Maha Sarakham Provincial Administration Organization at a high level. As a whole, the teacher officials and educational personnel had different levels of opinions involving the guidelines for personnel administration of teacher officials and educational personnel under Maha Sarakham Provincial Administration Organization. The samples suggested some important guidelines for personnel administration; for example, the determination of the number of position and the rate of positions should be in conformity with the need of each school and selection and examination for new personnel should have reliable screening procedures. In addition, the replacement and appointment of personnel should be in accordance with the positions notified by the school. There should be transparent and accountable procedures to consider official transfer. Regarding academic promotion, a committee should be set up for consideration based on official regulations and apparent evaluation criteria. Besides, as for salary promotion, a committee should be also appointed and work with transparency. In terms of professional disciplines and discipline keeping, teacher officials and educational personnel should be encouraged to develop themselves to be self-disciplined and to follow the disciplines strictly.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา