การพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง "ไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว" จังหวัดกาฬสินธุ์ Developing Multimedia Entitled "The Dinosaurs at Phu Kum Khao', Kalasin Province

Main Article Content

ธานินทร์ หงษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของผู้ชมสื่อมัลติมีเดียผ่านระบบออนไลน์เกี่ยวกับรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) พัฒนาสื่อมัลติมีเดีย ที่มีประสิทธิภาพ และ 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ชมสื่อมัลติมีเดียผ่านระบบออนไลน์ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ชมสื่อมัลติมีเดียผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 180 คน สำหรับสอบถามความต้องการของผู้ชมผ่านระบบออนไลน์เกี่ยวกับรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย และจำนวน 341 คนสำหรับสอบถามความคิดเห็นของผู้ชมสื่อมัลติมีเดียผ่านระบบออนไลน์เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียที่พัฒนาแล้ว ซึ่งได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) สื่อมัลติมีเดียเรื่อง ไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ และ 3) แบบประเมินประสิทธิภาพสื่อมัลติมีเดีย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมุติฐานด้วย Independent t-test และ F-test (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า

            1.    ด้านรูปแบบการนำเสนอ ผู้ชมต้องการให้ตัวละครดำเนินเรื่องเป็นตัวการ์ตูนไดโนเสาร์ มีการนำเสนอเนื้อหาโดยใช้ภาพเคลื่อนไหว ชื่อเรื่องจัดวางตรงกึ่งกลางด้านบนของจอภาพ เนื้อหาวางด้านขวาและภาพประกอบวางด้านซ้ายจอภาพ
การนำเสนอวีดิทัศน์ต้องการให้นำเสนอแบบเต็มหน้าจอภาพ เมนูเลือกรายการจัดวางตรงกึ่งกลางด้านล่างของจอภาพ ภาพพื้นหลังเป็นภาพพื้นที่ราบและภูเขา สีพื้นหลังเป็นโทนสีเขียว สีตัวอักษรของชื่อเรื่องเป็นสีเหลือง สีตัวอักษรบรรยายเนื้อหาเป็นสีน้ำเงิน เสียงประกอบสื่อมัลติมีเดียเป็นเสียงธรรมชาติในป่า เช่น เสียงนกร้อง น้ำไหล เสียงดนตรีประกอบสื่อมัลติมีเดียเป็นเสียงดนตรีบรรเลงจังหวะช้า และเสียงของปุ่มควบคุมการทำงานต้องการเสียงแบบที่สอง ด้านปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับสื่อมัลติมีเดีย ผู้ชมต้องการให้สื่อมัลติมีเดียสามารถเลือกดูเนื้อหาเพิ่มเติมได้ เปิด-ปิดเสียงบรรยายได้ มีปุ่มเปิด-ปิดเนื้อหา มีเกมส์ที่เกี่ยวกับเนื้อหา
มีคำแนะนำการใช้งานประกอบ มีทางเลือกในการเข้าสู่เนื้อหาตามต้องการ ส่วนของปุ่มควบคุมเนื้อหาต้องการเป็นรูปภาพ ตัวอักษรและมีเสียง ปุ่มควบคุมการทำงานแบบตัวอักษรใช้ Font Kittithada ปุ่มควบคุมการทำงานแบบรูปภาพต้องการรูปวงกลมมีรูปสามเหลี่ยมด้านใน และปุ่มควบคุมการทำงานแบบรูปภาพและตัวอักษรต้องการรูปวงกลมมีรูปสามเหลี่ยมด้านในมีตัวอักษรประกอบ

            2.    สื่อมัลติมีเดีย ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวม อยู่ในระดับดี (= 4.42)

            3.    ผู้เข้าชมสื่อมัลติมีเดียผ่านระบบออนไลน์ มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (= 4.63) โดยผู้เข้าชมที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดีย ไม่แตกต่างกัน

This study aimed to: 1) examine the needs of visitors on line for efficient multimedia model entitled 'The Dinosaurs at Phu Kum Khao', Kalasin Province, 2) develop the efficiency of multimedia, and
3) compare opinions of visitors on multimedia on line. This classified in gender, age, educational level and occupation. The samples were 180 visitors who were examined the needs of visitors on line related to the developed multimedia on line. The other samples were 341 visitors who were examined the opinions towards the developed multimedia online. Both groups were selected through accidental sampling. The instruments used were: 1) a questionnaire, 2) multimedia entitled "The Dinosaurs at Phu Kum Khso", Kalasin Province,
3) an evaluation form on efficiency of the multimedia. The statistics used for analyzing the data were percentage, mean, and standard deviation; independent t- test and F- test (One-way ANOVA) were employed for hypothesis testing.

            The results of the study were as follows:

            1.    In terms of presentation model, the visitors wanted the characters to develop the story to be dinosaur cartoons. Contents should be presented using animations. The title should be placed in the middle on the top of the screen. The contents should be placed on the right side and the illustrations on the left side of the screen. Video presentations should be on the full screen. The selection list menu should be placed in the middle on the bottom of the screen. The background should be pictures of the plain and mountains with green tone. The letters of the title should be yellow but the letters of content descriptions should be blue. Using sound to accompany stories should be natural sound in the forest such as bird singing and flowing water. The music should be played in slow rhythm speed, and sound of word control should be the second-type. In terms of interactions between visitors and multimedia, the visitors could select additional contents, turn on and off the descriptive sounds, and turn on and off the contents buttons. There should be games concerning the contents with supplementary instructions for operation. There should be choices to access the contents as needed. For the control contents buttons, they should be pictures, letters, and sound accompany. For the control letter- type operation buttons, Kittithada font should be used, control picture-type operation buttons should be a circle with a triangle inside it. For the control picture-type and letter-type operation buttons, they should be a circle with a triangle inside it with supplement letters.

            2.    The overall of efficiency of developed multimedia was rated at a high level (= 4.42).

            3.          The opinion of the visitors through the multimedia on line as a whole was at a very high level (= 4.63). Regarding visitors who were different in gender, age, educational level, and occupation were not significantly different in multimedia.

Article Details

บท
บทความวิจัย