การศึกษาสถานภาพงานวิทยานิพนธ์ด้านการศึกษาปฐมวัย The Study of Theses' Status in Early Childhood Education

Main Article Content

วัฒนา ปุญญฤทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาสถานภาพงานวิทยานิพนธ์ด้านการศึกษาปฐมวัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานภาพของงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับลักษณะของงานวิจัยด้านการศึกษาปฐมวัย 2) สถานภาพของงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 3) สถานภาพของงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการเรียนรู้หรือพัฒนาการของเด็กปฐมวัย และ 4) สถานภาพของงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็น วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระด้านการศึกษาปฐมวัย ของสถาบันการศึกษาต่างๆ จำนวน 222 เรื่อง ที่พิมพ์เผยแพร่ในช่วงปี พ.ศ. 2546 - 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสำรวจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อนำมาดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยเริ่มจากการสำรวจรวบรวมรายชื่อและบทคัดย่องานวิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์และการค้นคว้าอิสระด้านการปฐมวัย จากนั้นจึงศึกษาฉบับสมบูรณ์แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าความถี่ ร้อยละและสังเคราะห์ผลการวิจัยด้วย เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

            1.    สถานภาพของงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับลักษณะของงานวิจัยด้านการศึกษาปฐมวัย

                  งานวิทยานิพนธ์ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ส่วนใหญ่ พิมพ์เผยแพร่ในปี 2547 (ร้อยละ 30.18)
เป็นวิทยานิพนธ์ (ร้อยละ 84.68) และเป็นการวิจัยเชิงทดลอง/พัฒนา (ร้อยละ 64.87) วัตถุประสงค์ของการวิจัยส่วนใหญ่
เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา (ร้อยละ 78.38) รองลงไปเป็น การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง (ร้อยละ 59.46)
ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยส่วนใหญ่เป็น แบบทดสอบ (ร้อยละ 36.94) รองลงไปเป็น แบบสอบถาม(ร้อยละ 31.98) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่ คือ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (ร้อยละ 54.05) รองลงไป คือ การทดสอบที (t-test Dependent) (ร้อยละ 44.14) ส่วนเนื้อหาสาระที่ศึกษาส่วนใหญ่ มุ่งเน้นการเรียนรู้/พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (ร้อยละ 59.00) รองลงไปคือ การบริหารจัดการ (ร้อยละ 36.49) และหลักสูตร (ร้อยละ 4.50) ตามลำดับ

            2.    สถานภาพของงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย

                  สถานภาพของงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พบว่า มีงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จำนวน 10 เรื่อง (ร้อยละ 4.50) จำแนกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1) กลุ่มงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีจำนวน 5 เรื่อง 2) กลุ่มงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ การเตรียมความพร้อมและการบริหารหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย มีจำนวน 2 เรื่อง และ 3) กลุ่มงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการใช้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย จำนวน 3 เรื่อง

            3.    สถานภาพของงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการเรียนรู้/พัฒนาการของเด็กปฐมวัย

                        สถานภาพของงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการเรียนรู้/พัฒนาการของเด็กปฐมวัย พบว่ามีงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการเรียนรู้/พัฒนาการของเด็กปฐมวัย จำนวน 131 เรื่อง (ร้อยละ 59.00) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้/พัฒนาการของเด็กปฐมวัย จำแนกเป็น

4 ด้าน ได้แก่ 1) พัฒนาการด้านร่างกายมีงานวิจัยที่ศึกษาจำนวน 5 เรื่อง ตัวแปรตามที่ศึกษา คือ การใช้กล้ามเนื้อเล็กพฤติกรรมการรับประทานผัก การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และ สมรรถภาพทางกลไกของเด็กปฐมวัย 2) พัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ พบว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาจำนวน 10 เรื่อง ตัวแปรตามที่ศึกษา คือ เชาวน์อารมณ์/ความฉลาดทางอารมณ์ ความเชื่อมั่นในตนเอง และ การคลายการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง 3) พัฒนาการด้านสังคมพบว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาจำนวน 28 เรื่อง ตัวแปรตามที่ศึกษาส่วนใหญ่ คือ พฤติกรรมด้านสังคม ความมีวินัยในตนเอง พฤติกรรมร่วมมือ พฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมความรับผิดชอบ และ 4) พัฒนาการด้านสติปัญญาพบว่ามีงานวิจัยที่ศึกษาจำนวน 88 เรื่อง ตัวแปรตามที่ศึกษาส่วนใหญ่ คือ การคิด
มีจำนวน 37 เรื่อง ซึ่งส่วนใหญ่ศึกษาเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ และรองลงไปคือ ความสามารถทางภาษา มีจำนวน 21 เรื่อง

            4.    สถานภาพของงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย

                  สถานภาพของงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย พบว่า มีงานวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับ
การบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัย จำนวน 81 เรื่อง (ร้อยละ 36.49) จำแนกเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 1) การจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยศึกษา มีจำนวน 31 เรื่อง 2) การจัดการศึกษาปฐมวัยของครูผู้สอน มีจำนวน 30 เรื่อง และ 3) การจัดการศึกษาปฐมวัยโดยการมีส่วนร่วม มีจำนวน 20 เรื่อง

The study of theses' status in early childhood education aims to investigate 1) theses' status of research in early childhood education 2) theses' status in early childhood educational curriculums 3) theses' status in learning/development of early childhood children, and 4) theses' status in early childhood education management. Samples used in this study were 222 titles of theses, term papers, and independent studies in early childhood education in several education institutes that had been published from 2003 to 2008. Research tool was a survey pattern, developed by the researcher. Data collection process started with the survey of titles and abstracts of theses, term papers and independent studies in early childhood education then studied the completed theses, term papers and independent studies in early childhood education, and finally analyzed data by using frequency, percentage, and synthesized research results by content analysis technique.

            Research results found that

            1.    Theses' status of research characteristic in early childhood education

                  Most of the theses used as samples in this study published in 2004 (30.18 per cent) were theses (84.68 per cent) in the pattern of experimental/developmental research (64.87 per cent). The research objectives were to study the current situation and problems (78.38 per cent), followed by the differential comparison (59.46 per cent). Most of the tools used in research were the paper test (36.94 per cent), followed by questionnaire (31.98 per cent). Statistics used for analyzing the data were mean and standard deviation (54.05 per cent), followed by dependent t-test (44.14 per cent). Most of the contents in the theses focused on learning/development of early childhood children (59.00 per cent), management (36.49 per cent), and curriculums (4.50 per cent) respectively.

            2.    Theses' status in early childhood educational curriculums

                  Theses' status in early childhood educational curriculums found that there were 10 thesis titles (4.50 per cent) in early childhood educational curriculums and can be divided into 3 groups: 1) theses group in the establishment and development of early childhood educational curriculums 5 titles 2) theses group in preparation and management in early childhood educational curriculums 2 titles, and 3) theses group in the use of early childhood educational curriculums 3 titles.

            3.    Theses' status in learning/development of early childhood children

                  In theses' status in learning/development of early childhood children, it was found that there were 131 thesis titles (59.00 per cent) in learning/development of early childhood children, and can be divided into 4 aspects: 1) physical development, it was found that there were 5 research titles. The dependent variables were the use of small muscles, eating behavior regarding vegetable intake, the use of five senses and mechanical capabilities of early childhood children, 2) emotional development, it was found that there were 10 research titles, The dependent variables were mental intellectual and cleverness, self-reliability, and the relaxation of self-centered, 3) social development it was found that there were 28 research titles in social development, The dependent variables were social behavior, self-disciplined, participation behavior, environmental conservation behavior and responsive behavior and 4) cognitive development, it was found that there were 88 research titles, The dependent variables were 37 titles in thought which are mostly about creative thinking, followed by 21 titles of language abilities.

            4.    Theses' status in early childhood education management

                  In theses' status in early childhood education management, it was found that there were 81 thesis titles (36.49 per cent), and can be divided into 3 groups: 1) 31 titles of the early childhood education operation in early childhood centers 2) 30 titles in early childhood education operation of the teachers, and
3) 20 titles of early childhood education operation using participation method.

Article Details

บท
บทความวิจัย