การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนในการดำเนินงาน ของสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดร้อยเอ็ด Participation of the Members of CommunityJustice Network in Work Performance of Roi-et Behaviour Control Office

Main Article Content

เกษร ทะวิลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนในการดำเนินงานของสำนักงาน
คุมประพฤติ จังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนอำเภอเมืองร้อยเอ็ด และอำเภอ
เสลภูมิ จำนวน 234 คน และผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างที่อยู่อำเภอเมืองและอำเภอเสลภูมิ เป็นแบบโควตากล่าวคือ แบ่ง
การเก็บอำเภอละ 117 คน เท่าๆ กัน จากนั้นได้ทำการสุ่มอย่างง่ายโดยนำรายชื่อของสมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนทั้งหมด
ลงในกล่องแล้วทำการหยิบขึ้นทีละรายชื่อ จนครบจำนวน กรณีถ้ารายชื่อซ้ำผู้วิจัยจะหยิบใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น
แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t–test และ F–test (One–way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความพึงพอใจของสมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนในการดำเนินงานของสำนักงานคุมประพฤติ จังหวัดร้อยเอ็ด
โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย
คือ ด้านการมีส่วนร่วมศึกษาปัญหาและสาเหตุ ด้านการมีส่วนร่วมค้นหารูปแบบและวิธีการแก้ไขปัญหา ด้านการมีส่วนร่วม
ติดตามและประเมินผล และด้านการมีส่วนร่วมวางนโยบายหรือแผนงาน และพบว่ามีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน
เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการมีส่วนร่วมปฏิบัติตามนโยบายและแผนงาน และด้านการมีส่วนร่วมตัดสินใจเลือก
นโยบายและแผนงาน
2. การเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชนในการดำเนินงานของสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดร้อยเอ็ด ที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอำเภอ แตกต่างกัน พบว่าโดยรวมมีส่วนร่วมในการดำเนินการไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ .05

3. ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ควรให้ชุมชนร่วมประชุมเพื่อมีส่วนร่วมรับทราบปัญหาและสาเหตุร่วมกับ
สมาชิกเครือข่าย ควรนำเอาข้อเสนอและรูปแบบวิธีการแก้ไขปัญหาผู้กระทำผิดจากสมาชิกเครือข่ายในแต่ละชุมชนให้มาก
เพราะสมาชิกเครือข่ายอยู่กับชุมชนจึงรู้ถึงวิธีการแก้ไขปัญหาในแต่ละพื้นที่ ในการแก้ไขปัญหาไม่ควรยึดระเบียบเกินไป ควรเอา
ปัญหาที่สมาชิกเครือข่ายได้นำเสนอมาจัดทำเป็นนโยบายและแผนงานทั้งหมด นโยบายและแผนงานควรนำไปเผยแพร่และ
ประชาสัมพันธ์ให้ทราบโดยทั่วกัน ควรให้สมาชิกเครือข่ายเป็นผู้คัดเลือกกิจกรรมใดที่จะทำก่อนและกิจกรรมใดจะทำที่หลัง
เมื่อสมาชิกเครือข่ายและเจ้าหน้าที่ทำแผนงานแล้วควรให้ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้ที่มีประสบการณ์ช่วยตัดสินใจ ควรให้สมาชิกเครือข่าย
มีส่วนร่วมทุกกิจกรรมตามนโยบายเพื่อจะได้ดูแลผู้ถูกคุมประพฤติที่เป็นคนในชุมชนของตนเอง ควรมีการติดตามและประเมินผลทุกเดือนและต่อเนื่อง

The objective of this research was to survey the participation of the community justice network
members in work performance of Roi-et Behaviour Control Office. The sample subjects were 234 members of
community justice network in Mueang District and Selaphum Districts. They were selected by quota method
and simple random sampling. The instrument was a questionnaire. The research statistics used were
frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and F-test (One-way ANOVA).
1. The research results showed that the average level of the participation of the members was high.
The four high-level areas of the participation were problem analysis, problem solutions, evaluation, and making
policies and planning.
2. The finding indicated that the participation of the members in the work performance regarding
gender, age, educational background and district was not significantly different at the .05 level.
3. In regard to the suggestions, it is concluded that people in community should be provided an
opportunity to participate in analyzing problems. The suggestions of the members should be used to solve the
problems. The problem solutions should be flexible. The policies and plans should be based on the problems
and suggestions of the members in community, and they should be announced widely to the public. The
members should be offered an opportunity to organize the activities or events in community. The final plan or
project should be made decision by village leaders or experts. The members should be provided an opportunity
to participate in activities in order to monitor the behavior control of people in community. The evaluation
should be done regularly and continuously.

Article Details

บท
บทความวิจัย