การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3 A Study on Academic Administration in Small Schools under Maha Sarakham Educational Service Area Office 3

Main Article Content

วันชัย พงสุพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ประการแรกเพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ประการที่สอง
เพื่อเปรียบเทียบระดับปฏิบัติและศึกษาปัญหา และประการที่สามเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของ
โรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนของ
โรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 3 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 280 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ t- test และวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า
ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีระดับปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอยู่ในระดับมาก และ
เมื่อเปรียบเทียบระดับปฏิบัติของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับ
ปัญหาของการบริหารงานวิชาการพบว่าครูผู้สอนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการวัดผลและประเมินผลตามสาระการเรียนรู้
ที่ทำการสอนประจำชั้นเรียน ทำการสอนไม่ตรงตามวิชาเอกและความถนัดของตนเอง ขาดงบประมาณที่จะมาสนับสนุน
งานวิชาการและขาดอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ขาดสื่อการสอนที่ทันสมัย ผู้บริหารสถานศึกษาขาดความ
เป็นผู้นำทางวิชาการให้ความสำคัญต่องานวิชาการน้อยเกินไป บุคลากรที่ทำการสอนขาดความกระตือรือร้นในการทำความเข้าใจ
หลักสูตรใหม่ และขาดเทคนิคในการสอนที่ทันสมัย ส่วนข้อเสนอแนะพบว่ากลุ่มตัวอย่างได้เสนอจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง
การวัดผลประเมินผลของสถานศึกษา เพื่อครูจะใช้เป็นแนวทางในการวัดประเมินผลแก่ผู้เรียน ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้
เพียงพอที่จะบริหารงานวิชาการให้มีคุณภาพ และขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมาช่วยในการ
จัดการศึกษา มีการจัดกิจกรรมในการหางบประมาณมาสนับสนุนงานวิชาการ และจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนให้เพียงพอกับ
จำนวนนักเรียน มีการจัดอบรมด้านเทคนิคการเรียนการสอนอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง

The objectives of this research were to survey the level of work performance on academic
administration of administrators and teachers, to compare the level of the performance on academic
administration including the problems and to find the suggestions for the efficient and effective
performance on academic administration in small school under Maha Sarakham Educational Service
Area Office 3. Two hundred and eighty sample subjects were administrators and teachers in small
schools under Maha Sarakham Educational Service Area Office 3 in 2009. The research instrument
was a questionnaire with .75 reliability value. The statistics used were frequency, percentage, mean,
standard deviation, t-test and qualitative analysis.
The research finding indicated that the average level of the performance on academic
administration of the administrators and teachers was high. The level of the work performance
regarding the administrators and teachers was significantly different. Regarding the problems, it was
found that both the administrators and teachers did not understand explicitly about the evaluation of
learning achievement in each learning strand. Some teachers were not qualified because they did not
teach the subject of their major field. The budget was not sufficient for educational management. The
teaching materials were old and insufficient for instructional purpose. The administrators were lack of
academic leadership. The teachers were inactive and they did not understand the new curriculum
explicitly. They did not have new teaching techniques. In regard to the suggestions, it is concluded
that the evaluation training course should be organized for both the administrators and teachers. The
budget should be sufficient for efficient academic management. The schools may ask for a financial
support from local administrative organization. The entertaining activities should be held for financial
purpose and academic administration. The teaching materials should be sufficient for instructional
management. The teaching technique training course should be organized for the teachers once
a semester.

Article Details

บท
บทความวิจัย