การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก Development of Academic Administration Model for Small Sized Schools

Main Article Content

คัมภีร์ สุดแท้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก การดำเนินการวิจัย มี 2 ระยะ แต่ละระยะมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับ
โรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กโดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ศึกษาความคิดเห็นผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน จำนวน 78 คน และศึกษาดูงานโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 2 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จัดทำคู่มือ
การดำเนินการตามรูปแบบ ประเมินความเหมาะสมของคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOCระหว่าง 0.60-1.00 ระยะที่ 2 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 3
การทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 1 แห่ง และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ผู้ประเมินผล จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า1. รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก มี 2 องค์ประกอบหลัก 17 องค์ประกอบย่อย ดังต่อไปนี้
องค์ประกอบหลักที่ 1 ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก มี 11 องค์ประกอบย่อย คือ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น การวางแผนด้านวิชาการ การเรียนการสอนและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนา
หนังสือ สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และแหล่งเรียนรู้ การวัดผล ประเมินผล และการดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การนิเทศการศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา การแนะแนวการศึกษา การจัดทำระเบียบ
และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา และการส่งเสริมสนับสนุนและประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาบุคคล ครอบครัว ชุมชนและองค์กรอื่น
ที่จัดการศึกษา องค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการพัฒนาการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก มี 6 องค์ประกอบย่อย คือ การระบุเป้าหมาย การจัดทำแผนกลยุทธ์ การปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์การส่งเสริม ควบคุม กำกับ ติดตาม นิเทศ
การตรวจสอบและประเมินผล และการสะท้อนผล รายงานผลการดำเนินงาน และการนำผลการประเมินไปใช้

2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า โรงเรียนดำเนินตามขั้นตอนในรูปแบบอย่างครอบคลุม ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และนำผลการประเมินไปใช้ ทำให้การบริหารงานวิชาการโรงเรียนขนาดเล็กเป็นไปอย่างเป็น
ระบบ ช่วยแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพมากขึ้น
3. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก พบว่า
3.1 ผลการใช้รูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ทั้งโดยรวมและองค์ประกอบหลักทั้ง 2 องค์ประกอบ มีผลการประเมินอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
3.2 ผลการประเมินความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความมีประโยชน์ของรูปแบบ การบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก โดยรวมและรายด้านทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
3.3 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการนำรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กไปใช้ พบว่ามีปัญหาคือครูไม่สามารถจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ได้ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ การทุ่มเทพัฒนางานวิชาการ
อย่างเดียวไม่ทำให้โรงเรียนประสบผลสำเร็จอย่างสมบูรณ์ได้ ครูไม่สามารถพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลให้ได้มาตรฐานครบทุกสาระการเรียนรู้ได้ และมีการเสนอแนะในการแก้ปัญหา คือ โรงเรียนควรจัดหาแผนการจัดการเรียนรู้สำเร็จรูปที่
มีคุณภาพดีให้ครู ควรนำกระบวนการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กไปประยุกต์ใช้ทั้งระบบ ควรส่งเสริมให้ครูพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลให้ได้มาตรฐาน

The purpose of this research was to design and develop an academic administration model for
small sized schools. This research consisted of 2 stages: 1) a component study and design of the
academic administration model for small sized schools consisting of 1 a study of related literature and
research, survey of the opinion of 78 school administrators, teachers and members of basic education
board, and a study visit to two small sized schools; 2 design of the model, model assessment with IOC
(.60-1.00) by 5 experts. 2) Tryout of the model consisted of 1 tryout the model with small sized school
and 2 by 15 evaluators. The research findings were as follows:
1. The model of academic administration for small sized schools consisted of 2 major
components and 17 sub-components. The component 1 was a scope of academic administration for
small sized schools consisting of 11 sub-components: school and local curriculum development,
academic planning, instruction and instructional development, development of teaching materials,
educational technology and learning resource, evaluation, and credit transfer, educational supervision,
research on educational quality development, educational guidance, regulation and guideline for school
academic administration, development of educational standards and internal quality assurance system,
support of an academic cooperation of school, people, family, community and other educational
organizations. The component 2 was a process of the academic administration development consisting
of 6 sub-components: goal achievement, making strategic plan, implementation, monitoring, evaluation
and feedback, writing a report and application.
2. The experimental results showed that the model was employed completely for the academic
administration in small sized schools, and all school sectors participated in and the results were applied
for the academic administration in small sized schools systematically and effectively.

3. The results of model assessment were as follows:
3.1 The average level of the model assessment by the experts was very high.
3.2 The average level of the appropriateness of the model was very high.
3.3 Regarding the problem and suggestions, it was found that the teachers could not write
a lesson plan completely for the learning strand. The school success was not only depended on the
academic development. The teachers could not develop an evaluation instruments. Regarding the
suggestions, it is concluded that efficient lesson plans should be prepared for teachers. The process of
the academic administration for small sized school should be completely applied for all systems, and
The knowledge of evaluation instruments should be provided for teachers.

Article Details

บท
บทความวิจัย