ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ 4MAT ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 Effects of Mathematics Learning Activities Entitled “Factors of Cardinal Number” by Using 4MAT Approach for 6th Grade Education

Main Article Content

อุไรวรรณ ยอดสะเทิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบ
การเรียนรู้ 4MAT ประการที่สองเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 6 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 และประการที่สามเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ 4MAT กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา
2552 โรงเรียนบ้านแก่นท้าว จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT
จำนวน 16 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก แบบสอบถาม
ความพึงพอใจในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนรู้ 4MAT เรื่องตัวประกอบของ
จำนวนนับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที t – test (One sample t- test) ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบ 4MAT เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 86.51/80.39
2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ 4MAT เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เรียนตามกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ 4MAT เรื่องตัวประกอบของจำนวนนับ ชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 6 โดยรวมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ 4MAT เท่ากับ 4.56
ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.11 แสดงว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

The purposes of this research were to develop Mathematics learning activities by using 4MAT
approach, to compare learning achievement of students with the 75 standardized criteria and 3) to
survey the satisfaction of the students with the learning activities by using 4MAT approach. The sample
subjects were thirty two 6th grade students at Bankaenthauw School in 2009. The research instruments
were 16 lesson plans, an achievement test, and a questionnaire. The statistics used were mean,
standard deviation, and t-test (One Sample). The research findings were as follows:
1. The value of the learning activities regarding the standardized criteria efficiency was 96.51/
80.39.
2. The average score of the achievement of the students was significantly higher than that of
the standardized criteria at the .05 level.
3. The average level of the satisfaction of the students with the learning activities was high
(X = 4.56, S. D. = .11)

Article Details

บท
บทความวิจัย