การพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาจากสื่อธรรมชาติ สำหรับเตรียมทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย Development of Learning Experience Plans with Natural Material Games for Basic Mathematics Skills Preparation of Early Childhood Students

Main Article Content

สกล ป้องคำสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาจากสื่อธรรมชาติ สำหรับเตรียมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย เป็นเด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 2
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนโคกบัวค้อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาจากสื่อธรรมชาติ จำนวน 20 แผน แบบประเมินพัฒนาการ
ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 และแบบประเมินความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมด้วยแผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาจากสื่อธรรมชาติ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบทดลอง One group
pretest–posttest design ระยะเวลาในการวิจัย ใช้เวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของคะแนนประเมินพัฒนาการก่อนและหลังการจัดกิจกรรม ด้วย
Wilcoxon signed ranks test ผลการวิจัยพบว่า
1. แผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาจากสื่อธรรมชาติ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.85/88.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้80/80 2. เด็กปฐมวัยมีคะแนนทักษะพื้นฐานทางด้านคณิตศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมเพิ่มขึ้นจากก่อนจัดกิจกรรมอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3. เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมด้วยแผนการจัดประสบการณ์เกมการศึกษาจากสื่อธรรมชาติ สำหรับเตรียมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ในระดับมาก

The objective of this research was to develop learning experience plans with natural material
games for basic Mathematics skills preparation of early childhood students. The target group consisted
of seventeen kindergarten students, who were 5-6 years old, in the first semester of 2009 at
Khok Buakhor Primary school under the office of Maha Sarakham Educational Service Area 1. The
research instruments were 20 lesson plans, basic Mathematics skills assessment form with .92
reliability value and a questionnaire. The research was one group pretest - posttest design, and it took
four weeks and five days a week. The research statistics used were percentage, mean, standard
deviation and Wilcoxon Signed Ranks Test. The research finding revealed that the efficiency value of
the learning experience plans was 89.85/88.97 which was higher than the standard criteria (80/80).
The basic Mathematics skills of the early childhood students after learning with the activities was
significantly higher than before learning with the activities at the .05 level. The average level of the
satisfaction of the students with the activities was high.

Article Details

บท
บทความวิจัย