การดำเนินงานเสริมสร้างวินัยด้านการรักษาความสะอาดของนักเรียน โรงเรียนโคกกลางวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 Implementation of Hygiene Discipline Promotion among Sudents of Kok Klang Wittaya School in Kalasin Educational Service Area Office

Main Article Content

อุทัย ภูเต้าสูง Uthai Phoortoasoong

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานเสริมสร้างวินัยด้านการรักษาความสะอาดของนักเรียน
โรงเรียนโคกกลางวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย คือ ครูผู้สอน
จำนวน 5 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ 1 คน ครูผู้สอน 5 คน ผู้ปกครอง 20 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 9 คน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียน 67 คน ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาก่อนการดำเนินการ นักเรียนโรงเรียนโคกกลางวิทยามีพฤติกรรมเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดโดยรวม
อยู่ในระดับน้อย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาความสะอาดของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย ประกอบด้วย ความสะอาดของฟัน ผมเล็บมือ เล็บเท้า และการรักษาความสะอาดของเสื้อผ้า การรักษาความสะอาดภายในห้องเรียน รอบบริเวณโรงเรียน และถึงผนัง
ห้องเรียนและอาคารเรียนต่างๆ ผู้วิจัยร่วมกับกลุ่มผู้ร่วมวิจัยได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเสริมสร้างวินัยด้านการรักษาความสะอาดของนักเรียน ประกอบด้วย กิจกรรมการรักษาความสะอาดตนเองและกิจกรรมการรักษาความสะอาดสภาพแวดล้อม ซึ่งปรากฏว่า
โดยภาพรวมนักเรียนมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดอยู่ในระดับมาก ทำให้มีสุขภาพร่างกาย เช่น มีเล็บมือ เล็บเท้าผม แขน ขา และฟัน ที่สะอาด รวมไปถึงการสวมใส่เครื่องแต่งกายที่สะอาด ถูกต้องตามระเบียบที่โรงเรียนกำหนด และในส่วน
ของสภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียนพบว่า สะอาดน่าอยู่ น่าเรียน มากยิ่งขึ้นกว่าเดิม แต่มีนักเรียนจำนวน 11 คนที่ยังสมควรได้รับการเสริมสร้างให้เป็นผู้มีวินัยที่ดีเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดให้ดีขึ้นอีกต่อไป

The purpose of this experimental research is to study implementation of hygiene discipline
promotion among students of Khok Klang Wittaya School, in Kalasin Educational Service Area Office 1.
Participants of this action research were five teachers of Kok Klang Wittaya Shool; informants of the
study were one educational supervisor, five teachers of Kok Klang Wittaya School, twenty parents and
nine members from the Basic Education Committee. The target group consisted of sixty seven students
of Kok Klang Wittaya School. Findings of the study reveal the following:
With regard to problems prior to implementation, the overall hygiene discipline of the students
of Kok Klang Wittaya School was found at the low level regarding personal hygiene (teeth, hair, finger
nails, and toe nails), cleanliness of clothes, classroom sanitation, cleanliness of school surroundings,
and classroom walls and buildings. The researcher and research participants organized the following
clean-up activities for promoting students’ hygiene discipline: personal hygiene promotion activities and
environmental cleaning promotion activities. Results of the activities showed that the students’ overall
hygiene discipline or behavior was found at the high level, resulting in their better physical appearance:
cleaner finger and toe nails, hair, arms, legs, and teeth; including wearing cleaner and proper clothes.
Regarding environmental conditions, both inside and outside classrooms, the implementation of hygiene
discipline promotion activities led to much cleaner learning environment. However, there were 11
students who still needed further hygiene discipline practice.

Article Details

บท
บทความวิจัย