การพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานนักเรียนของโรงเรียนบ้านบัวขาว (วันครู 2500) อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ Developing Basic Moral Ethics of Students at Bua Khao (Wan Khru B.E. 2500) School, Kuchinarai District, Kalasin Province

Main Article Content

ไพศาล วานิชสุจิต Phaisan Wanitsuchit

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานนักเรียนโรงเรียนบ้านบัวขาว (วันครู 2500) อำเภอกุฉินารายณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ 4 ด้าน ประกอบด้วย ความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ และสามัคคี โรงเรียนบ้านบัวขาว (วันครู 2500) อำเภอ
กุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ตามขั้นตอนกัลยาณมิตรนิเทศ 4 ขั้นตอน คือ การสร้างความศรัทธา การสาธิตรูปแบบการส่งเสริมคุณธรรม การร่วมคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการติดตามประเมินผลตลอดกระบวนการภายใต้กรอบการพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่
ด้านความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ และสามัคคี โดยใช้การวิจัยปฏิบัติการ ดำเนินการวิจัย 2 วงรอบ มีกลุ่มผู้ร่วมวิจัยมี 4 คนกลุ่มเป้าหมาย 130 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 130 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมิน แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบบันทึกประจำวัน การจัดกระทำข้อมูลใช้หลักตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่าก่อนการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานนักเรียนของโรงเรียนบ้านบัวขาว (วันครู 2500) อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
พบว่านักเรียนขาดลักษณะนิสัยที่ดีในตนเอง ครูขาดการกำกับดูแล ติดตามนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ ผู้รับผิดชอบงานคุณธรรมพื้นฐานไม่ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง แผนการปฏิบัติงานเพื่อส่งเสริมคุณธรรมพื้นฐานของนักเรียนไม่ชัดเจน และไม่มีการกำกับ
ติดตามอย่างเป็นระบบหลังการพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานนักเรียน การดำเนินการวิจัยทั้ง 2 วงรอบสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในทางที่ดีทั้ง 4 ด้าน ดังต่อไปนี้
1. ด้านความขยัน นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในความขยันดีขึ้น เช่น รู้จักส่งการบ้านให้ทันเวลาตามที่ครูกำหนด
มาโรงเรียนเช้าขึ้น ช่วยกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน เก็บเศษกระดาษโดยไม่ต้องมีครูกำกับ
2. ด้านการประหยัด นักเรียนยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ดีเท่าที่ควร กล่าวคือ นักเรียนยังชอบใช้จ่าย
สุรุ่ยสุร่ายเนื่องจากติดเป็นนิสัย ชอบออกห้องเรียนไปซื้อขนม ชอบเขียนสมุดข้ามหน้า ชอบเปิดน้ำแล้วไม่ปิด
3. ด้านความซื่อสัตย์ สามารถพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานนักเรียนด้านความซื่อสัตย์ได้เป็นไปตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้
กล่าวคือ นักเรียนไม่ลักเล็กขโมยน้อยของเพื่อนๆ ตรงต่อเวลา ไม่โกหก
4. ด้านความสามัคคี สามารถพัฒนาคุณธรรมพื้นฐานนักเรียนตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ กล่าวคือ นักเรียนไม่ก่อเรื่องทะเลาะวิวาท ช่วยเหลือกิจกรรมกลุ่ม มีความเอื้ออาทรต่อเพื่อนกันภายในกลุ่มได้ดี
The purposes of this study were to develop 4 basic moral ethics (diligence, thriftiness, honesty,
and unity) of the students at Ban Bua Khao (Wan Khru B.E. 2500) School, Kuchinarai District, Kalasin
Province, according to the following 4 stages of friendly supervision: creation of faith, demonstration of
moral ethics promotion model, learning and sharing; and evaluation & follow-up, throughout the process
under development framework of the four basic moral ethics. This action research study was conducted
in 2 cycles with 4 research participants. The target group consisted of 130 Prathomsueksa V (grade 5)
students, and an additional group of 40 informants. The instruments used for collecting data were an
evaluation form, an interview form, an observation form, and a daily note-taking form. The collected data
were treated by using the triangulation technique. The results were subsequently presented in
descriptive analysis.
The results of the study are as follows:
Before developing basic moral ethics of the students at Ban Bua Khao (Wan Khru B.E. 2500)
School of Kuchinarai Distrit, Kalasin Province, the following problems had been identified: the students’
lacking positive characteristics, the teachers’ not following up regularly with their students’ progress, no
work continuity of personnel in charge of basic moral ethics development, unclear operational plans for
promoting students’ basic moral ethics, and there were no systematic directing and following-ups.
After developing the 4 basic moral ethics of the students at Ban Bua Khao (Wan Khru B.E.
2500) School, Kuchinarai District, Kalasin Province, it was found that the 2 cycles of action research
could improve behavior of the students in the target group in all of the 4 aspects.
1. In terms of diligence, most of the students became more industrious: e.g. submitting their
homework in time, arriving at school earlier, assisting and involving in different school activities,
collecting waste materials or trash voluntarily, etc.
2. Regarding thriftiness, it was found that the students could not yet adjust their spending
behaviors as expected: they still liked spending money carelessly as their regular habit; they liked going
outside their classroom to buy sweets; they skipped over pages in writing; and they liked to leave water
taps on after use.
3. With regard to honesty, the school could develop this aspect of moral ethics according to the
established objectives: the students did not steal things from their peers, and they were punctual and
they did not lie .
4. In terms of unity, the school could develop this aspect of basic moral ethics among the
students according to the established objectives: the students did not quarrel and fight, they helped with
group activities, and they were generous and treated one another within their group well.

Article Details

บท
บทความวิจัย