แหล่งเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการเสริมสร้างการเรียนรู้ แบบทางเลือกของเยาวชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ An Alternative Community Learning Center for the Thai Youth in the Northeast
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาการวิจัยเรื่องนี้ เกิดจากเยาวช
นไทยในช่วงวัยการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นและ
ตอนปลายใช้เวลาว่างหลังเลิกเรียนหรือวันปกติหนีเรียน เที่ยวเตร่ รวมกันแข่งรถ เสพสิ่งเสพติด ทำให้ไม่สนใจการเรียน
ผลการเรียนต่ำ เด็กออกโรงเรียนกลางคัน ส่งผลให้สังคมไทยมีเยาวชนที่ไม่มีคุณภาพ การศึกษาวิจัยแหล่งเรียนรู้ของชุมชนและ
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และเกิดการเรียนรู้แบบทางเลือก มีพื้นที่วิจัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่
6 บ้านกุดแคน ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม วิธีการศึกษาใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสาร
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสัมภาษณ์ทั้งแบบโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และการจัดกลุ่มสนทนา ผู้ให้ข้อมูลจำนวน 30 คน คือ
เด็กเยาวชนที่ออกโรงเรียนกลางคันมีอายุ 8-25 ปี เพศชายและเพศหญิงจำนวน 15 คน ผู้ปกครอง 5 คน ผู้บริหารโครงการแหล่ง
เรียนรู้ของชุมชน 3 คน ครูภูมิปัญญาพื้นบ้าน 3 คน และผู้นำชุมชน 4 คน นำเสนอผลวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า
การสร้างแหล่งเรียนรู้ชุมชนที่เป็นกรณีศึกษาเกิดจากองค์กรเอกชนของตระกูล ฤทธิเดช มีจุดมุ่งหมายเพื่อสืบสาน
อุดมการณ์ของพ่อ ต้องการคืนความรู้สู่สังคม และให้เด็กเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รักการเรียนมากขึ้น แหล่งเรียนรู้
แห่งนี้ชื่อว่า ”แหล่งเรียนรู้ของชุมชนบ้านหลังเรียนปู่ทวดครูสิงห์ ฤทธิเดช„ เป็นพื้นที่ส่วนบุคคลที่มอบให้ชุมชนบ้านกุดแคน
ตำบลหนองโน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ใช้ทำกิจกรรมร่วมกัน ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิด
ประโยชน์ เกิดการเรียนรู้แบบทางเลือก ได้แก่
1. แหล่งเรียนรู้เป็นพื้นที่ทางสังคม มีความสัมพันธ์ระหว่างเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง และครูภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่เป็น
สมาชิกโครงการร่วมกันทำกิจกรรมเรียนรู้
2. เด็กและเยาวชนเรียนรู้แบบพึ่งตนเองจากมุมกิจกรรมต่างๆ ที่จัดไว้ภายในอาคารเรียนและภายนอกอาคารเรียน
3. การเรียนรู้ทักษะอาชีพโดยครูภูมิปัญญาและตนเอง
4. การเรียนรู้จากแนวคิดเด็กนำผู้ใหญ่หนุนเสริมการทำกิจกรรม โดยบุคคลในตระกูลฤทธิเดชและประชาชนประโยชน์ของแหล่งเรียนรู้ชุมชน คือสร้างชุมชนน่าอยู่ ครอบครัวอบอุ่น เด็กเยาวชนไม่ทะเลาะวิวาท และชุมชนมีพื้นที่คุณภาพ 1 แห่งให้ทุกคนได้เข้ามาทำกิจกรรมที่ตนเองชอบร่วมกับคนอื่นๆ หรือทำกิจกรรมด้วยตนเองอย่างมีความสุข ส่งเสริมการเรียนรู้แบบทางเลือกตามอัธยาศัยที่เกิดจากปัจจัยภายในของเด็ก แสวงหาการสร้างอนาคตของตนเอง
The research questions arose from youths’ problems: such as, playing truants, motorcycle
racing and drug taking. The students, primary and secondary school levels, did poorly in class or
dropped out from school. The Thai society, therefore, had to take in poorly-prepared youths. This study
aimed to build an alternative learning center for the Thai youth so that they could efficiently spend their
free time. The community learning center was located at No. 1, Moo 6, Ban Koodkan, Tambon Nong
No, Muang District, Mahasarakham Province. This study was a qualitative research making use of
documentary studies, interviews and focus-group discussions. Subjects of the study were 15 primary
and secondary schools’ dropouts of 8-25 years old, 5 parents, 3 administrators of the community
learning center, 3 teachers and 4 community leaders; making a total of 30 informants. Results of
descriptive analysis of data revealed that the community learning center was established by the Rittidet
family members. Mr. Sing Rittidet’s sons and daughters turned their father’s ideology into concrete
practice by building a community learning center on their land to be used as a knowledge source that
could benefit all people at Ban Koodkan. The goal was to assist youths to use this center as an
alternative knowledge source and efficiently spend their free time as follows:
1. As a social-based learning center establishing close relationship among students, parents,
and local experts.
2. Children and youths had opportunity to develop self-reliance in learning from various activity
corners provided in and outside their community learning center.
3. Children and youths could acquire occupational skills by themselves and from local experts.
4. Learning could occur through activities initiated by youths, supported by adults in the
community, e.g. the Rittidet family members and the general public. In conclusion, this alternative
learning center could be a catalyst in building proper condition for family and community life: warm
families and youths of proper discipline and conduct. The center was used to suit individual and
community needs: such as happy time, pleasant social activities and alternative learning opportunity as
they seek to acquire skills essential for their future.
Keywords : Community Learning Center, Building
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา