การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจตามความต้องการของสถานประกอบการ โดยใช้โปรแกรมประมวลผลคำแทนการเขียนด้วยลายมือ The Development of Business English Writing Skills Relevant to the Workplace by Making Use of Word Processing in Place of Handwriting
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์ ประการแรกเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษธุรกิจตามความต้องการของสถานประกอบการ ประการที่สองเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เขียนเอกสารทางธุรกิจโดยการเขียน
ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมประมวลผลคำกับการเขียนด้วยลายมือ และประการที่สามเพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจที่ใช้คอมพิวเตอร์ประกอบบทเรียน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาวิชาเอกภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2
จำนวน 48 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ 1 ภาคเรียนที่ 1/2551 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามจำนวน2 ห้อง ห้องละ 24 คน กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมและอีกกลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างอีกกลุ่มหนึ่งได้แก่ผู้บริหาร
สถานประกอบการ 7 คนพิจารณาจากสถานประกอบการที่มีนักศึกษาไปฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามผู้บริหาร การสัมภาษณ์ผู้บริหาร แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของนักศึกษา แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ
ตารางการให้คะแนนการเขียน ข้อสอบก่อนเรียนและหลังเรียน การสัมภาษณ์นักศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยพบว่าจากหลักฐานการสำรวจการตอบแบบสอบถามและการสัมภาษณ์เกี่ยวกับบทเรียนพบว่าเป็นไปตามความต้องการและความคาดหวังของนักศึกษาและผู้บริหารสถานประกอบการ การเขียนเอกสารหลังการเรียนของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มในภาพรวมสามารถเขียนเอกสารทางธุรกิจที่มีคุณภาพดีกว่าก่อนการเรียน และการเขียนของนักศึกษากลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมประมวลผลคำดีกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมที่เขียนด้วยลายมืออย่างมีนัยสำคัญ นักศึกษามีความพึงพอใจกับการเรียนภาษาอังกฤษธุรกิจโดยใช้คอมพิวเตอร์ประกอบการสอนในระดับมาก
This research aimed to develop business English writing skills relevant to the workplace by
making use of word processing in place of handwriting, to compare the achievement of students using
word processing to those using handwriting and to investigate students’ satisfaction towards developing
business English by using computer to support the lessons. Subjects were two classes of 48 secondyear
students majoring in English who enrolled in Business English I in the first semester of the 2008
academic year at Rajabhat Maha Sarakham University. One of these two classes was selected to be
the treatment group and the other to be the control group, consisting of 24 students each. The study
also made use of 7 informants, who were executives selected from typical organizations chosen as the
workplace for students’ practical training. The instruments used in the research were an executive
questionnaire, executive interview, students’ background questionnaire, rating-scale questionnaire of
students’ satisfaction, analytic-scale writing criteria, pretest and posttest, and student interview.
Frequency, mean, standard deviation and t–test were used to analyze the data.
Results of the study revealed that the lessons had been successful in meeting the needs and
expectations of the students and prospective executives. The overall writing works produced by both
groups of students at the end of the course were of higher quality than those produced prior to the
experiment. The quality of the writing skills of the treatment group was significantly higher than that of
the control group. Most students were satisfied with developing writing skills by using word processing
to support the lessons at a high level.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา