การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูสอนวิชาเพศศึกษาด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ Development of a Model for Training Sex Education Teachers through Cooperative Learning

Main Article Content

กนกพร ทองสอดแสง Kanokporn Tongsodsang

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูสอนวิชาเพศศึกษาด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาเพศศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่สอนนักศึกษาระดับปริญญาตรี
จากมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ และสถาบันการพลศึกษา จำนวน 7 คน ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ รูปแบบการฝึกอบรมครูสอนวิชาเพศศึกษาด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ที่สร้างขึ้น
โดยศึกษาในหัวข้อ ”พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ„ และรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้การสนทนากลุ่ม และสร้างแบบสอบถามเพื่อตรวจสอบและยืนยันถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นทำการสังเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้มาสร้างเป็นเครื่องมือ และ
นำไปทำการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) ในขั้นวิจัย และนำผลการวิจัยในขั้นตอนการวิจัยมาพัฒนาและปรับปรุงรูปแบบการฝึกอบรม แล้วจึงนำไปวิจัยเชิงทดลองในขั้นตอนการพัฒนาซ้ำอีกครั้งหนึ่ง ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูสอนวิชาเพศศึกษาด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยศึกษาในหัวข้อ ”พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ„ และรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus
Group Discussion) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 คน โดยสรุปได้ ”พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ„ จำนวน 13 หน่วย และนำข้อมูลความคิดเห็นที่ได้มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเพื่อศึกษาและ
เป็นการยืนยันปัญหาที่เกิดขึ้น โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.95 โดยเก็บข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจำนวน20 แห่ง แห่งละ 40 คน รวม 800 คน ได้แบบสอบถามกลับมาทั้งหมด 705 ชุด คิดเป็นร้อยละ 88.12 แล้วนำแบบสอบถามมาตรวจ
หาความสมบูรณ์ พบว่าแบบสอบถามที่สมบูรณ์จำนวน 664 ชุด คิดเป็นร้อยละ 94.18
2. พัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพศศึกษา เมื่อได้นำข้อมูลเบื้องต้นมาพัฒนาสร้างเป็นหลักสูตรอบรม ได้มีการตรวจสอบเอกสารฝึกอบรมเพศศึกษาเพื่อป้องกันพฤติกรรมการเสี่ยงทางเพศ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องของหลักสูตรอบรมมีค่าความสอดคล้องอยู่ในระหว่าง 0.8 ถึง 1 ส่วนความสอดคล้องระหว่างหัวข้อเรื่องการ

อบรมกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมจำนวน 13 หน่วย มีค่าความสอดคล้องอยู่ในระหว่าง 0.6 ถึง 1 ส่วน ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมกับแบบทดสอบจำนวน 13 ชุด มีค่าความสอดคล้องอยู่ในระหว่าง 0.6 ถึง 1นำแบบทดสอบที่ได้ปรับปรุงจำนวน 13 ชุดไปทดลองใช้กับนักศึกษาที่ได้เรียนวิชาเพศศึกษามาแล้วจำนวน 72 คน
พบว่า มีค่าความยากง่ายอยู่ในระหว่าง 0.62 - 0.77 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าอยู่ในระหว่าง 0.31 - 0.51 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ มีค่าอยู่ในระหว่าง 0.37 - 0.69
หลังจากนั้นนำรูปแบบการฝึกอบรมไปทดลองใช้ (Try-out) กับกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยจำนวน 3 คนพบว่า ผลการประเมินใบเนื้อหา 13 หน่วย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 4.21 – 4.70 อยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมมาก และความเหมาะสมมากที่สุด ผลการประเมินหลักสูตร 13 หน่วย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 4.09– 4.75 อยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมมาก และความเหมาะสมมากที่สุด ผลการนิเทศการสอนของวิทยากรมีคุณภาพอยู่ในระดับดีทุกหน่วย ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เข้ารับ
การอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ย 4.44 อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการจัดฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ย 4.64 อยู่ในระดับมากที่สุด
3. ดำเนินการใช้รูปแบบหลักสูตรการฝึกอบรมครูสอนวิชาเพศศึกษา เมื่อได้นำหลักสูตรอบรมไปทดลองใช้แล้วนำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขจึงนำไปดำเนินการฝึกอบรมครูสอนวิชาเพศศึกษาจำนวน 7 คนพบว่า ผลการประเมินใบเนื้อหา 13 หน่วย
มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 4.82 – 4.95 อยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ผลการประเมินหลักสูตร 13 หน่วยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระหว่าง 4.78 – 4.97 อยู่ในระดับที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ผลการนิเทศการสอนของวิทยากรมีคุณภาพอยู่ในระดับดีเลิศ
ทุกหน่วย ผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ย 4.93 อยู่ในระดับมากที่สุดผลการประเมินความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการจัดฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ย 4.96 อยู่ในระดับมากที่สุด4. ประเมินติดตามผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมเพศศึกษา เป็นการติดตามผลหลังจากการฝึกอบรมผ่านไปแล้ว โดย
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน 7 คนได้นำรูปแบบการสอนเพศศึกษาที่สร้างขึ้นไปใช้กับนักศึกษา ตามคู่มือและสื่อที่ได้รับหลังจากการฝึกอบรมผ่านไป โดยใช้รูปแบบการทดลอง Nonrandomized control group pretest posttest design ด้วยวิธีการ
Think–pair–share แบบ Homogeneous จำนวน 64 คน เป็นกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มควบคุม 32 คน พบว่า ความพึงพอใจของการเข้ารับการฝึกอบรมพบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.39 การทดสอบความแตกต่างของนักศึกษาที่
เรียนแบบเพื่อนคู่คิดกับเรียนแบบปกติ พบว่า มีคะแนนผลการทดสอบที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05เกือบทุกหน่วยการเรียน ยกเว้นการอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ไม่แตกต่างกัน เจตคติของนักศึกษาที่เรียนแบบเพื่อนคู่คิดกับเรียนแบบปกติพบว่า นักศึกษาที่เรียนแบบเพื่อนคู่คิดมีเจตคติ ค่าเฉลี่ย 3.23 ส่วนนักศึกษาที่เรียนแบบปกติมีเจตคติ ค่าเฉลี่ย 2.99เมื่อทดสอบความแตกต่างของแบบวัดเจตคติของนักศึกษาที่เรียนแบบเพื่อนคู่คิดกับเรียนแบบปกติพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

This research aimed to develop a model for training sex education teachers through
cooperative learning. Subjects selected to participate in this research and development study were 7
sex education instructors teaching bachelor’s degree students at Universities, Rajabhat Universities and
Physical Education Institutes which are public higher education institutions. The instruments used in this
research was a Model for Training Sex Education Teachers through Cooperative Learning, constructed
through the following stages: studying the subject “Sexually-Risk Behaviors”, gathering experts’ opinion
through Focus-Group Discussion, constructing a questionnaire to examine and confirm existing  problems, and synthesizing the collected data for constructing the instrument or model before
conducting an experimental research. The results of the experiment were used to develop and improve
the training model, which was later used in conducting another experiment for development.
Findings of the study are as follows :
1. Studying basic data for developing a sex education training model was conducted by using
cooperative learning through focus-group discussion from which 9 experts’ opinions and suggestions
were collected to acquire relevant contents regarding sexually risk behaviors, which were later
summarized and arranged in 13 units to be used as basic data for constructing the questionnaire for
inquiring opinion regarding prevention of sexually risk behaviors in order to study and confirm the
existing problems. This questionnaire of .095 reliability was later used to collect data from 20 public
higher education institutions, from each of which 40 participants took part in the study, making the total
of 800; but 705 respondents returned the forms, which accounted for 88.12%. However, there were only
664 questionnaire forms or 94.18% that were complete.
2. In developing the sex education training model, the acquired basic information was used to
construct the model, the contents of which were examined and evaluated by 5 experts regarding
appropriateness of instructional activities and content validity. It was found that the congruence index of
the training model was within the 0.8-1 range; while the congruence between the 13 content units and
behavioral objectives was 0.6-1; and the congruence between the behavioral objectives and the 13 unit
tests was also at the 0.6- 1 level.
After the 13 tests were tried out with 72 students who had studied sex education, it was found
that the difficulty indexes were within 0.62-0.77, discrimination indexes were 0.31-0.51, and reliability
values of the tests were 0.37-0.69.
The training model was then tried out with 3 subjects of the study, which revealed the following
findings: the average content validity values of the 13 units were 4.42 – 4.70, which were at the high
and highest levels of appropriateness; and the average mean of the thirteen- unit curriculum was 4.49-
4.66, which was also at the high and highest levels of appropriateness. Results of trainers’ supervision
revealed a good level of quality for every unit. The average mean of participants’ opinions regarding the
training curriculum was 4.44, which was at the high level. The average mean of participants’ opinions
regarding management of the training was 4.64, which was at the highest level.
3. After the tryout, the sex education training model was modified before it was implemented in
training 7 sex education instructors. Results are as follow: the average content validity index of the
content sheets of the thirteen units was 4.82-4.95, which was at the highest level of appropriateness;
and the average mean of the thirteen-unit curriculum was in the 4.78-4.957 range, which was at the
highest level of appropriateness. Results of trainers’ supervision revealed quality of every unit being at a
very good level. The average mean of subjects’ opinions regarding the training curriculum was 4.93,
which was at the highest level. The average mean of subjects’ opinions regarding management of the
training was 4.96, which was at the highest level.
4. Follow-up evaluation of the sex education training model revealed that the 7 participants of
the training used the model in teaching their students according to the manual and instructional media
they received after the training, by using the non-randomized control group pretest- posttest design with
the use of Think-Pair-Share technique with a homogeneous group of 64 subjects, divided into the
control and experimental groups of 32 each; which revealed the following findings. The average mean of subjects’ satisfaction was 4.39, that was at the high level. Comparison of results of students learning
through use of the Think-Pair-Share technique and those learning through regular teaching revealed a
significant difference at the .05 level for almost every unit, except the unit on Being in Risky Situations,
which showed no significant difference. The attitude of the students learning through the Think-Pair-
Share technique was 3.23 in average, and that of the students learning through regular teaching was
2.99; showing a significant difference at the .05 level.

Article Details

บท
บทความวิจัย