การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสอนกิจกรรมแนะแนว Development of a Guidance Activity Training Program for Teachers

Main Article Content

ยุพาศรี ไพรวรรณ Yupasri Praiwan

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูสอนกิจกรรมแนะแนว โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาทางด้านการแนะแนวที่เป็นครูประจำชั้น และสอนกิจกรรมแนะแนวในช่วงชั้นที่ 3จำนวน 18 คน ได้ดำเนินการวิจัยในลักษณะการวิจัยและพัฒนา โดยรวบรวมผลการวิจัยเชิงสำรวจ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและครูประจำชั้นที่สอนกิจกรรมแนะแนวด้วยการอภิปรายกลุ่ม โดยวิธี Fish bowl ข้อมูลที่รวบรวมได้มาสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูสอนกิจกรรมแนะแนวและทดลองใช้ เพื่อหาประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรม แล้วนำมาดำเนินการฝึกอบรมกับกลุ่ม
ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินสภาวะแวดล้อม โดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ตำรา งานวิจัย ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญสรุปได้ว่า วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรมคือพัฒนา หลักสูตรฝึกอบรมการสอนกิจกรรมแนะแนวให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้
ทักษะ และเจตคติ สามารถสอนกิจกรรมแนะแนวได้อย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดให้ผู้เข้ารับการอบรมเป็นครูที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาด้านการแนะแนว และเป็นครูประจำชั้นที่สอนกิจกรรมแนะแนวในช่วงชั้นที่ 3 จำนวน 18 คน กำหนดหัวข้อในการ
ฝึกอบรม 10 หัวข้อ ใช้เวลาในการฝึกอบรม 2 วัน
2. การประเมินปัจจัยเบื้องต้น ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการวิจัยโดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้ององค์ประกอบต่างๆ ของหลักสูตรความสอดคล้อง หัวข้อเรื่องการอบรมกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม และความสอดคล้อง
ระหว่างวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมกับแบบทดสอบ ผลปรากฏว่า ดัชนีความสอดคล้องในภาพรวมของทั้งสามรายการมีค่าอยู่ระหว่าง .80 – 1.00 ซึ่งมีความสอดคล้องกันสูง
3. การประเมินกระบวนการ ผู้วิจัยได้นำหลักสูตรฝึกอบรมรวมทั้งเครื่องมือต่างๆ ที่ผู้เชี่ยวชาญประเมินความสอดคล้องแล้วไปทดลองใช้ ปรากฏว่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 89.00 และ
85.18 และประเมินผลการปฏิบัติได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 90.65 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 10 หัวข้อมีค่าระหว่าง .80ถึง .85 แสดงว่าแบบทดสอบมีค่าความเชื่อมั่นสูงมาก หลังจากนั้นนำหลักสูตรฝึกอบรมไปเก็บรวมรวมข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่าง
พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ 91.25/87.39 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ และผลการปฏิบัติได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ95.60 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

4. การประเมินผลผลิต ผู้วิจัยได้ทำการประเมินติดตามผลหลังการฝึกอบรมไปแล้ว 3 เดือน โดยสอบถามผู้บังคับบัญชาของผู้เข้ารับการฝึกอบรม ครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมและนักเรียนพบว่า ผู้บังคับบัญชามีความพึงพอใจต่อครูผู้เข้ารับการฝึกอบรมในการนำเอาความรู้และทักษะที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้อยู่ในระดับมาก สำหรับครูผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ทักษะและเจตคติในการสอนกิจกรรมแนะแนวอยู่ในระดับมากที่สุด และเจตคติของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมแนะแนวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย