การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ Evaluation of Developed Collaborative Learning Instructional Model via Computer Network Based on Constructivist Theory fo
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ประการแรกเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ประการที่สองเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นกับการสอนแบบปกติและประการที่สามเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนในรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยโดยเลือกแบบเจาะจงจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ลงทะเบียนเรียนวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ในภาคเรียนที่ 2/2551 จำนวน 64 คน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ บทเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้
ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างด้วย t – test ผลการวิจัย
พบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มทดลองเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างผู้เรียนกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนน
เฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนกลุ่มทดลองที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับสูงการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาอื่นๆ ได้
The objectives of this research were 1) to study learning achievement of students after using
the developed collaborative learning instructional model via computer network based on the
constructivist theory, 2) to compare learning achievements of students taught by the developed
instructional model and those by the regular instruction, and 3) to study satisfaction of the students after
using the developed instructional model. The samples of this research were 64 students selected by
purposive sampling from undergraduate students enrolled in Educational Innovation and Information
Technology in the second semester of the 2008 academic year. The instruments used in this 8-week
experiment consisted of web-based lessons for collaborative learning based on the constructivist theory
developed by the researcher; an achievement test, and a questionnaire for assessing students’
satisfaction. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation and t-test.
Findings of the research are as follows:
1. The average post-test achievement of the experimental group was significantly higher than
their pre-test learning achievement at the .05 level.
2. Comparison of the learning achievements between the experimental group and the control
group revealed that the mean score of the experimental group was higher than that of the control group
at the .05 level of significance.
3. The satisfaction of the students in the experimental group toward the developed computernetwork-based learning was found at the high level.In conclusion, findings indicated that the developed collaborative learning instructional modelfor teaching undergraduate students via computer network based on the constructivist theory wasefficient, and the model should be applied in teaching other courses.
Article Details
1. บทความที่ลงตีพิมพ์ทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ประเมินอิสระ ผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) สาขาที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 3 ท่าน ในรูปแบบ Double blind review
2. ข้อคิดเห็นใด ๆ ของบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นี้เป็นของผู้เขียน คณะผู้จัดทำวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
3. กองบรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอกแต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา