การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัล ระหว่างการใช้เครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์กับบุหรี่ และผลกระทบของการห้ามขายสุราแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสุรินทร์ Development of a Canonical Model between Alcoholic

Main Article Content

เสาวณิต รัตนรวมการ Sauwanit Ratnaruamkarn

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัล ระหว่างการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กับบุหรี่และผลกระทบของการห้ามขายสุราแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จังหวัดสุรินทร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษามาตรการของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อปริมาณการดื่มสุราของนักเรียน เพื่อศึกษามูลเหตุและแรงจูงใจของการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กับบุหรี่ของนักเรียน และเพื่อสร้างรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และบุหรี่โดยใช้การ
วิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัล (Canonical correlation analysis) ผลการวิจัยพบว่ามาตรการของรัฐบาลที่มีผลกระทบต่อการลดการดื่มสุรามากที่สุดคือ มาตรการที่ 1 การห้ามขายสุราแก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า18 ปีบริบูรณ์ มาตรการที่มีผลรองลงมาคือ มาตรการที่ 2 การกำหนดเวลาขาย 2 ช่วง คือเวลา 11.00-14.00 น. และเวลา 17.00-24.00 น. นอกเหนือเวลานี้ไม่ให้ขาย ส่วนมาตรการที่ 3 การกำหนดสถานที่จำหน่าย ไม่ให้ขายสุราที่ศาสนสถาน (วัด) สถานศึกษา
รวมทั้งบริเวณต่อเนื่องกัน รวมทั้งห้ามขายบริเวณปั๊มน้ำมันหรือบริเวณต่อเนื่องกัน มาตรการที่ 4 ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตั้งแต่ 05.00 น.-22.00 น. และมาตรการที่ 5 การติดป้ายโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลางแจ้งต้องห่างจาก
สถานศึกษาทุกระดับในระยะ 500 เมตรขึ้นไป มีผลต่อปริมาณการดื่มสุราของนักเรียนระดับปานกลาง สำหรับมูลเหตุและแรงจูงใจพบว่านักเรียนมีมูลเหตุและแรงจูงใจ ด้านบุคลิกภาพส่วนตัว ด้านครอบครัว และด้านสังคม น้อยถึงน้อยมากต่อการใช้
เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์กับบุหรี่ ในการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัลและคู่ของตัวแปรที่สัมพันธ์พบว่าสหสัมพันธ์แบบแคนนอนนิคัลกับคู่ของตัวแปรสัมพันธ์เท่ากับ 0.849

This research, Development of a Canonical Model between Alcoholic Drinks and CigaretteUses and Impact of Thai Regulations against Selling Alcohol to Consumers aged under 18 years on
Surin High School Students, aimed to study the government’s measures that have impact on students’alcoholic consumption, to study causes and motifs of alcoholic beverage and cigarettes uses among thestudents, and develop a canonical model between Alcoholic Drinks and Cigarette Uses by using
Canonical Correlation Analysis.The results are as follows:
The government’s measures that had the highest impact on decrease in alcohol consumptionwere the first regulation prohibiting liquor selling to consumers aged below 18 years, and the secondregulation that limits the selling time to only 2 periods, 11.00-14.00 and 17.00-24.00; while the third,
fourth and fifth regulations had only moderate impact on reduction of alcoholic beverage consumption:these measures are Prohibition of selling alcoholic drinks at temples, schools, and gas stations, andsurrounding areas of these places; Prohibiting alcohol advertisements from 05:00 – 22:00; andEstablishing alcohol advertisement-free zones within 500-meters from educational institutions of alllevels. Regarding causes and motifs of alcoholic beverage and cigarettes uses, the study revealed that
subjects had low to very low level of personal, family, and social motifs toward alcohol and cigaretteuses. The canonical correlation analysis of 2 groups of variables ( alcohol use, frequency of alcohol use,and alcohol quantity versus cigarette use, frequency of cigarette use and cigarette quantity) revealed a
very high correlation between alcoholic and cigarette uses (0.849), which is the strongest relationship.

Article Details

บท
บทความวิจัย